วันศุกร์, 4 ตุลาคม 2567

11 ข้าวของเครื่องใช้สำหรับลูกน้อยที่คุณพ่อคุณแม่ควรเตรียมตัวไว้

28 มิ.ย. 2017
1997

คอกสำหรับปล่อยให้เด็กเล่น

 

พ่อแม่บางคนอาจมีความเชื่อว่า การเตรียมของให้ลูกก่อนคลอดเป็นลางไม่ดีอาจทำให้เสียลูก แต่ถึงอย่างไรการเตรียมตัวล่วงหน้าก็มีข้อดีคือ ช่วยลดความวุ่นวายที่เกิดขึ้นหลังคลอดซึ่งแม่อาจเหนื่อยเกินกว่าจะออกไปซื้อข้าวของเครื่องใช้ก็ได้นะ

 

คาร์ซีท

 

1.คาร์ซีท

พ่อแม่คนไทยอาจไม่ให้ความสนใจเรื่องที่นั่งเด็กเวลาขับรถพาลูกไปไหนมาไหน ทั้งๆที่เป็นเรื่องของความปลอดภัย แต่ในตะวันตกส่วนใหญ่จะมีคาร์ชีทไว้สำหรับลูกแต่ละคนกันเลย คาร์ชีทปกติมีให้เลือก 2 แบบ อย่างแรกคือ คาร์ซีทที่หันไปทางด้านท้ายรถ เวลาที่ต้องพาเด็กไปไหนมาไหน แบบที่ 2 เป็นแบบปรับให้หันมาด้านหน้ารถได้ใช้กับเด็กอายุมากกว่า 1 ขวบและมีน้ำหนักมากกว่า 9 กิโลกรัม และหากเป็นไปได้ควรใช้ของใหม่ หากใช้คาร์ซีทมือสองต้องระวังเรื่องพลาสติกเสื่อมสภาพ ซึ่งส่งผลให้ความปลอดภัยน้อยลงและถึงแม้ว่าภายในยังดูดีอยู่ก็ตาม แต่ไม่ว่าจะเลือกแบบไหนควรเป็นผลิตภัณฑ์ที่มีการรับรองมาตรฐานความปลอดภัย ส่วนการติดตั้งในครั้งแรกอาจยุ่งยากจึงควรเรียนรู้จากผู้เชียวชาญ

 

ที่นอนเด็ก

 

2.ที่นอนของทารก

ไม่ควรเลือกเปลหรือที่นอนที่ความสวยงาม ควรเลือกนึกถึงความปลอดภัยเป็นอันดับแรก ที่นอนที่ปลอดภัยไม่ควรนุ่มจนเกินไป เพราหากวางเด็กลงและเด็กนอนคว่ำ (ถึงแม้จะหลับนอนในท่าหงายในตอนแรก) เขาอาจพลิกคว่ำเองได้ หน้าอาจจมลงไปจนจมูกถูกอุดหายใจไม่ออก หากเป็นเปลเด็กควรเลือกชนิดที่มีซี่กรงห่างกันไม่เกิน 2 นิ้วครึ่งโดยประมาณ เพื่อป้องกันการติดของศีรษะเด็ก ที่กั้นเตียงควรสูงจากที่นอนอย่างน้อย 26 นิ้ว  หากเป็นเตียงเก่าควรตรวจตราให้แน่ใจในความแข็งแรง ส่วนหมอนไม่ใช่สิ่งจำเป็นสำหรับเด็กเล็ก รวมทั้งตุ๊กตาตัวนิดตัวน้อยก็ไม่ควรใส่ไว้ในที่นอน เพราะอาจเกิดอุบัติเหตุกลายเป็นตัวปิดกั้นการหายใจของทารกน้อย

 

อุปกรณ์อาบน้ำและแต่งตัว

 

3.อุปกรณ์อาบน้ำและแต่งตัว

ภาชนะรองรับทารกเวลาอาบน้ำนั้น สามารถใช้ได้ทั้งอ่างล้างหน้า อ่างพลาสติก อ่างอาบน้ำ ที่ออกแบบมาแล้วอย่างดี ถ้าเป็นอ่างอาบน้ำพลาสติกควรเลือกชนิดที่มีที่กั้นกันลื่นเพื่อความปลอดภัย การใช้เทอร์โมมิเตอร์วัดอุณหภูมิน้ำไม่ใช่สิ่งจำเป็น พ่อแม่มือใหม่อาจจัดเป็นเครื่องมือที่ทำให้มั่นใจว่าน้ำไม่ร้อนเกินไป แต่เพื่อป้องกันความผิดพลาดของอุปกรณ์ควรทดสอบด้วยมือซ้ำอีกครั้ง น้ำที่ใช้อาบไม่ควรร้อนเกินไปเพราะจะทำให้ผิวลูกแห้งแตกง่าย และห้ามเปิดน้ำร้อนลงในขณะที่ลูกอยู่ในอ่าง เวลาเปลี่ยนผ้าอ้อมสามารถเปลี่ยนบนโต๊ะหรือพื้นราบตามสะดวก ควรเตรียมอุปกรณ์ทุกอย่างให้พร้อมแผ่นปูรองกันโต๊ะลื่น แต่อย่าชะล่าใจว่าลูกจะไม่มีโอกาสหลุดจากที่รัด จึงควรจับลูกไว้ตลอดเวลาที่ทำการเปลี่ยนเสื้อผ้า วิธีทำความสะอาดก้นลูกที่ดีที่สุดคือล้างด้วยน้ำ เพราะการใช้สำลีหรือกระดาษเช็ดก้นอาจไม่สะอาดเกิดคราบสกปรกตกค้างอยู่บนผิวหนังอาจทำให้เกิดผื่นแดงขึ้น

 

อุปกรณ์การนั่งและการเดิน

 

4.อุปกรณ์การนั่งและการเดิน

เมื่อออกนอกบ้าน การใช้รถเข็นเด็กเป็นอุปกรณ์ที่มีประโยชน์ แต่น่าจะเหมาะกับเด็กโตที่สามารถตั้งศีรษะเองได้ เรามาดูกันว่ามีอะไรบ้างที่ควรใช้ และควรระมัดระวังเป็นพิเศษ

  • ไม่ควรให้ลูกนั่งอยู่ใกล้ๆ เวลาต้องทำงานหรือหากต้องการให้ดูสิ่งต่างๆรอบตัว ควรมีอุปกรณ์การนั่งและการเดินที่มีเข็มขัดรัดจะปลอดภัยมากขึ้นหรือใช้คาร์ซีทแทนก็ได้ แต่ควรเลือกคาร์ซีทที่มีฐานใหญ่เพียงพอ เพื่อรับน้ำหนักไม่ให้ล้มง่ายเวลาที่ลูกเคลื่อนไหว
  • อย่าวางลูกไว้บนโต๊ะหรือที่สูงเพราะอาจพลัดตกลงมาได้ การให้ลูกอยู่ในที่นั่งมากเกินไปอาจทำให้ลูกขาดโอกาสปฏิสัมพันธ์กับคนอื่นๆ
  • เวลาให้นมหรือป้อนอาหารควรเปลี่ยนมาอุ้มบ้าง จะทำให้ลูกรู้สึกอบอุ่นได้มาก การสะพายลูกด้วยการทำจากผ้าคล้องไว้กับตัวแม่เป็นสิ่งที่เด็กชอบเพราะเขาจะได้เคลื่อนไหวไปพร้อมๆ กับแม่ส่วนแม่เองก็มีมือวางที่จะทำงานอื่น ๆไปด้วย ปกติแล้วเด็กทารกจะชอบการเคลื่อนไหว เวลาเอาเขาใส่เปลไกว ก็จะช่วยทำให้เขาสงบได้อย่างไม่น่าเชื่อ
  • การใช้เป้พยุงตัว ส่วนนี้ทำให้เด็กเคลื่อนไหวด้วยเช่นกัน จะดีกว่าการใช้เปลไกวตรงที่แม่จะได้พักบ้าง การใช้เปลไม่ได้ทำให้ลูกติดนิสัยไปจนโตอย่างที่กลัวกัน แต่การให้ลูกเลิกเพลินกับเปลตลอดเวลาเป็นสิ่งควรทำ เพราะจะทำให้ลูกขาดโอกาสพัฒนาการด้านอื่นๆ
  • ควรใช้รถหัดเดินหรือไม่ จริงๆแล้วมันเป็นตัวช่วยให้เด็กเพลินแค่ช่วงสั้นๆเท่านั้น แต่ไม่ช่วยกระตุ้นเรื่องการพัฒนาการสักเท่าไร หลายครั้งเป็นสาเหตุของอุบัติเหตุที่รุนแรงเพราะเกิดพลิกคว่ำหรือลื่นไถล จึงไม่อยากแนะนำ แต่ปัจจุบันมีการผลิตรถหัดเดินแบบใหม่ที่ไม่มีล้อ แต่ใช้การหมุนการกระโดดหรือแค่โยกไปมา อาจมีของเล่นติดอยู่ให้เด็กนั่งเล่นได้ แต่ราคาแพงมาก

 

รถเข็นหรือเป้สะพาย

 

5.รถเข็นหรือเป้สะพาย

อุปกรณ์สำหรับการเดินทางของเด็ก ปัจจุบันมีให้เลือกทั้งรถเข็นที่ดัดแปลงเป็นคาร์ซีทได้สะพาย มีทั้งสะพายหน้าสะพายหลัง การเลือกใช้อุปกรณ์แต่ละชนิดขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายปัจจัย เช่น ความต้องการใช้งานหากออกไปจับจ่ายใช้สอยหรือธุระที่ต้องการความสะดวกอาจจะเหมาะกับรถเข็น แต่ต้องคำนึงด้วยว่าต้องมีความแข็งแรงพอ เวลาเลือกซื้อควรดูที่ความแข็งแรงน้ำหนักเบาสามารถพับเก็บได้จะช่วยเพิ่มความสะดวก หากไม่อยากให้ลูกต้องตื่นขณะหลับมาในรถก็ใช้รถเข็นที่ปรับเป็นคาร์ซีทได้ แต่รถเข็นแบบนี้มีน้ำหนักมาก ข้อสำคัญเวลาใช้รถเข็นคือ การรัดเข็มขัดให้เขาทุกครั้งเพื่อความปลอดภัย การสะพายเด็กไว้ในเป้สะพายหน้าแม่อาจต้องรับน้ำหนักมาก แต่ข้อดีคือทำให้เด็กมองเห็นแม่และได้ยินเสียงหัวใจของแม่ตลอดเวลา ลูกจึงสงบและมีความสุขมากกว่า กรณีที่ใช้เป้สะพายหลังสำหรับเดินทางไกลจะเหมาะกับเด็กที่พยุงคอได้แล้วจนถึงอายุ 2-3 ขวบ

 

คอกสำหรับปล่อยให้เด็กเล่น

 

6.คอกสำหรับปล่อยให้เด็กเล่น

บ้านที่มีพื้นที่พออาจเตรียมพื้นที่สำหรับเด็กเล่น และมีที่กั้นเป็นคอกให้เด็กเล่นสามารถนั่งเล่นได้หรือหัดคลานในพื้นที่ที่ปลอดภัย มีผู้เชี่ยวชาญบางท่านหรือพ่อแม่บางคนเชื่อว่า การจัดพื้นที่แบบนี้ทำให้เด็กขาดโอกาสเรียนรู้ เพราะต้องอยู่แต่ในคอกสำหรับเล่นนั้น ความจริงเด็กสามารถเรียนรู้สิ่งต่างๆได้ตลอดเวลา ไม่ว่าจะนอนแบเบาะอยู่บนเตียง หรือเริ่มคลาน การมีพื้นที่เฉพาะจะทำให้พ่อแม่ที่ไม่มีเวลาดูและเบาใจไปได้หากลูกไม่ได้อยู่ในสายตา แต่ควรใช้ตอนที่เขายังเล็กมีความสูงไม่เกิน 85 cm หรือประมาณ 2 ขวบ หากเด็กสูงกว่านี้อาจหาทางออกจากคอกมาได้ และเด็กบางคนอาจไม่ชอบ ต้องอาศัยการฝึกให้ชิน เวลาที่เหมาะคือลูกอายุประมาณ 3 เดือนถ้าเริ่มช้ากว่านี้เด็กอาจไม่ยอมอยู่ในคอก

 

ผ้าห่มผ้าคลุมเด็ก

 

7.ผ้าห่มผ้าคลุมเด็ก

ผ้าห่มสำหรับเด็ก ควรเน้นเรื่องทำความสะอาดง่าย ผ้าที่ทำจากเส้นใยอะคริลิกหรือผ้าฝ้ายผสมกับโพลีเอสเตอร์ จะง่ายต่อการทำความสะอาดและไม่ก่อภูมิแพ้ หากแม่คนไหนจะประยุกต์ผ้าคลุมไหล่ไหมพรมผืนใหญ่มาใช้ ควรสำรวจว่าไม่มีส่วนของเส้นใยที่หลุดร่วงจนพันรอบนิ้วมือนิ้วเท้า หรือมีรูโหว่ที่ร่างกายของเด็ก มิเช่นนั้นจะเข้าไปติดหรือถูกรั้งไว้ บางครั้งผ้าห่มอาจไม่จําหากห้องนั้นเปิดเครื่องปรับอากาศไม่เย็นจนเกินไป ให้ใส่เสื้อผ้าที่อบอุ่นก็เพียงพอ นอกจากเด็กบางคนชอบให้ห่อตัวแน่นเพราะรู้สึกปลอดภัยเหมือนอยู่ในท้องแม่ แม่จึงค่อยหอตัวให้เด็กแทนการห่อตัวผ้าห่มอย่าง หากเป็นเด็กเล็กที่ยังควบคุมการขับถ่ายไม่ได้ควรปูแผ่นรองกันซึมทับบนที่นอน แต่ห้ามประยุกต์ใช้ถุงพลาสติกเพราะอาจเกิดอันตรายจากถุงพลาสติกครอบศรีษะหรือปิดทับจมูกและปากเด็กได้

 

เสื้อผ้าสำหรับเด็กเล็ก

 

8.เสื้อผ้าสำหรับเด็กเล็ก

เด็กโตเร็วมากในช่วงขวบปีแรก การหาซื้อเสื้อผ้าสำหรับทารกแรกเกิดสามารถเลือกเสื้อผ้าเด็ก 3-6 เดือนเผื่อไว้ได้เลย ยกเว้นเด็กคลอดก่อนกำหนด เวลาเตรียมเสื้อผ้าเด็กไม่จำเป็นต้องมีชุดสำหรับจุดประสงค์หลักหลายรายการเหมือนผู้ใหญ่

  • ชุดนอนก็เอามาใส่ตอนกลางวันได้ ชุดนอนแขนยาวขายาว เหมาะสำหรับเด็กที่ไม่ชอบห่ม ผ้าชุดนอนแขนสั้นขาสั้น เหมาะสำหรับวันที่อากาศร้อน เสื้อผ้าที่ใส่สบายคือผ้าฝ้าย 100 เปอร์เซ็นต์
  • หากเด็กชอบชุดที่คลุมฝ่าเท้าอย่าลืมตรวจดูตะเข็บด้านในว่ามีเส้นด้ายหรือเส้นผมติดอยู่หรือไม่ เพราะอาจเกิดการพันรอบนิ้วเท้าทำให้เกิดการบาดเจ็บได้
  • ควรตรวจดูความเรียบร้อยของซิบที่อาจระคายเคืองผิวหนังด้วย
  • ส่วนกระดุมต้องดูด้วยว่าติดแน่นหรือไม่ เพื่อเป็นการป้องกันการหลุดหรือเด็กนำเข้าปาก
  • สายผูกโบว์ต้องไม่หลุดจนกลายเป็นสายพันรัดคอ คุณแม่ที่ชอบเสื้อผ้าหรูหราอย่าลืมนึกถึงความสบายตัวเวลาสวมใส่ด้วย
  • เมื่อต้องเดินทางไปถึงเมืองหนาว ควรเตรียมหมวกเพื่อให้ความอบอุ่นแก่ลูกน้อยด้วย
  • เมื่อต้องไปในเมืองร้อน ก็ควรมีหมวกด้วยเช่นกันเพราะเด็กอาจสูญเสียความร้อนได้ง่าย เลือกหมวกที่ไม่ใหญ่จนเลื่อนหลุดติดหน้า ในวันที่ต้องออกแดด ควรสวมใส่หมวกที่มีปีกกว้างเพื่อป้องกันแสงแดดเลือกที่มีสายรัดคาง เพื่อป้องกันไม่ให้แสงแดดทำอันตรายต่อผิวบอบบางของลูก
  • ครอบครัวที่มีพี่น้องอายุไล่เลี่ยกัน การส่งต่อเสื้อผ้าช่วยประหยัดได้มากแต่ควรตรวจดูเสื้อผ้ามือสองด้วยว่าอยู่ในสภาพเรียบร้อยไม่ชำรุดจนสร้างความรำคาญให้เด็กเวลาสวมใส่

 

ปรอทวัดไข้

 

9.ผลิตภัณฑ์สำหรับเด็ก

  • ผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดของเด็ก ปัจจุบันมีหลายชนิดให้เลือกใช้ ไม่ว่าจะเป็น สบู่เด็ก ครีมอาบน้ำเด็ก การเลือกใช้อันดับแรกควรดูว่าลูกแพ้หรือมีการระคายเคืองหรือไม่ เวลาใช้ผลิตภัณฑ์ชนิดนั้น หากมีการระคายเคือง สามารถอาบด้วยน้ำเปล่าธรรมดาได้ โลชั่นทาผิวกรณีที่ผิวเด็กแห้งควรเลือกที่ไม่มีสีหรือกลิ่น ส่วนน้ำมันทาผิวไม่ว่าจะใช้แบบผสมน้ำอาบหรือใช้ทาบริเวณผิว จริงๆแล้วไม่แนะนำ ยกเว้นลูกผิวแห้งมากและต้องสังเกตการแพ้ด้วยเพราะผิวของเด็กทารกบอบบาง
  • หลังอาบน้ำผู้ใหญ่ส่วนมากชินที่จะทาแป้งฝุ่นให้ลูก การที่แป้งฟุ้งกระจายหากเด็กสูดดมเข้าไปมาก อาจทำให้เกิดการสะสมในปอดอาจทำให้เกิดอันตราย บางครั้งแป้งฝุ่นกลายเป็นตัวกระตุ้นการแพ้ของเด็กได้ หากจำเป็นต้องใช้เพราะป้องกันเรื่องผื่นผ้าอ้อมอาจเปลี่ยนมาใช้แป้งที่ทำจากข้าวโพดหรือใช้ขี้ผึ้งลาโนลินหรือปิโตรเลียมเจลแทน
  • การตัดเล็บ สามารถเลือกใช้ได้ทั้งกรรไกรตัดเล็บและตะะใบเล็บ สิ่งที่ต้องระวังคืออย่าตัดลึกจนเกินไป ตัดปลายให้โค้งและไม่คมป้องกันการขูดผิวของลูกน้อยด้วย
  • ปรอทวัดไข้มีให้เลือกหลายชนิด แบบดิจิตอลก็ใช้งานง่ายให้ความแม่นยำและปลอดภัย ชนิดที่วัดทางหูราคาแพงกว่าแม่นยำน้อยกว่า ไม่ควรใช้ปรอทแก้วเพราะอาจเกิดอันตรายหากแตกหัก กรณีที่เด็กมีปัญหาน้ำมูกคั่งจะทำให้ดูดนมหรือหายใจลำบากสามารถใช้ลูกยางแดงหรืออุปกรณ์ดูดน้ำมูกที่ขายในแผนกขายของใช้เด็กหรือร้านขายยาได้

 

อุปกรณ์การกิน

 

10.อุปกรณ์การกิน

แม่ที่ต้องการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ อุปกรณ์ที่จำเป็นคือเครื่องปั๊มนม โดยเฉพาะแม่ที่จะต้องกลับไปทำงานไม่มีเวลาให้นมตอนกลางวัน เครื่องปั้มนมมีให้เลือกหลายชนิดไม่ว่าจะเป็นการปั๊มด้วยมือหรือปลอมด้วยไฟฟ้าแต่ละแบบมีข้อแตกต่างกันทั้งเรื่องราคาและความรวดเร็วในการปั๊มสามารถสอบถามผู้ขายได้

หากเลี้ยงลูกด้วยนมผงควรเตรียมขวดนมไว้ในปริมาณที่เพียงพอ ควรเป็นขวดพลาสติกเพื่อป้องกันขวดนมแตก ชนิดของจุกนมเลือกที่ทนทานความร้อน ควรเปลี่ยนจุกนมตามระยะเวลาที่ผู้ผลิตแนะนำ การทำความสะอาดขวดนมหากน้ำประปาอยู่ในระดับมาตรฐานปลอดภัยสำหรับการดื่มก็ไม่จําเป็นซ้ำที่จะต้องผ่านการต้ม เมื่อถึงเวลาให้นมอาจไม่จำเป็นต้องนำไปอุ่นเพราะเด็กกินนมเย็นได้ กรณีที่ชงไว้หลายชั่วโมงอาจเก็บเข้าตู้เย็นได้ หากลูกไม่ชอบให้นำไปได้อุ่นเล็กน้อย ดังนั้นเวลาเตรียมนมควรใช้น้ำร้อนเล็กน้อย ชงให้นมละลายน้ำร้อน จะช่วยทำลายเชื้อแบคทีเรียที่อาจปนเปื้อนอยู่ในนม แล้วเติมน้ำเย็นจนได้อุณหภูมิที่ต้องการ ไม่แนะนำให้อุ่นนมด้วยไมโครเวฟ เพราะนมจะร้อนจัดขนาดที่ขวดยังไม่ร้อนอาจรวกปากเด็กได้ ทดสอบอุณหภูมิได้โดยการหยดลงบนข้อมือด้านก่อนในเสมอ

อย่าลืม!! เตรียมผ้ากันน้ำลายที่กันเปื้อนพลาสติกหรือไนลอนเวลาป้อนอาหารหรือนม เพื่อป้องกันการเปื้อนเสื้อผ้า จะทำให้การซักล้างง่ายขึ้น

 

11.จุกนมหลอก

ถ้าต้องการใช้ ควรเตรียมไว้ใช้เพื่อสลับเพื่อทำความสะอาด 3-4 อัน การใช้จุกนมมาอัดด้วยสำลีหรือกระดาษเพื่อประยุกต์เป็นหัวนมหลอก เป็นอันตรายเพราะชิ้นส่วนที่ใช้อากาศหลุดออกเข้าคอลูกจนหายใจไม่ออกได้

 

ที่มาและการอ้างอิง

ดร.สป๊อก-นายแพทย์เบนจามิน สป๊อก (เขียน).แพทย์หญิงสุธีรา เอื้อไพโรจน์กิจ (แปล).คำภีร์เลี้ยงลูก (20-27).กรุงเทพ.อมรินทร์สุขภาพ.2552.