วันเสาร์, 27 กรกฎาคม 2567

เกร็ดความรู้เรื่องสุขภาพ เกี่ยวกับสมุนไพรแก้อาการท้องผูก Ep.29

อาการท้องผูกอันตรายมากน้อยแค่ไหน ขึ้นอยู่กับสาเหตุและระยะเวลาของการท้องผูก หากมีอาการท้องผูกเป็นเวลานาน และไม่ได้รับการรักษา อาจเป็นอันตรายต่อสุขภาพของร่างกายในระยะยาวได้ ดังนั้น ควรรีบปรึกษาแพทย์ เพื่อรับการวินิจฉัยและรักษาให้เหมาะสม

นอกจากนั้น เราควรป้องกันการเกิดอาการท้องผูก โดยรับประทานอาหารที่มีใยอาหารให้มากเพียงพอ ดื่มน้ำสะอาดให้มากขึ้น และออกกำลังกายเป็นประจำ

ส่วนสมุนไพรไทย เป็นอีกหนึ่งทางเลือก ในการรักษาและบรรเทาอาการท้องผูกได้ ซึ่งหลาย ๆ ชนิดก็คือพืชผักผลไม้ ที่เราพบเห็นได้ทั่วไปนั่นเอง

เกร็ดความรู้เรื่องสุขภาพ เกี่ยวกับสมุนไพรแก้อาการท้องผูก

1.เมล็ดทานตะวัน

น้ำมันจากเมล็ดและเมล็ดจะช่วยแก้โรคบิด ดอกและฝักช่วยการอาการบิดถ่ายเป็นเลือด และช่วยแก้อาการท้องผูกสำหรับผู้สูงอายุได้ ดอกทานตะวันช่วยขับลม แกนหรือไส้ลำต้นนำมาต้มกับน้ำดื่ม เป็นยาแก้มะเร็งกระเพาะอาหาร มะเร็งหลอดอาหาร

นอกจากนี้ ยังช่วยขับนิ่วในไต นิ่วในทางเดินปัสสาวะ ช่วยขับปัสสาวะได้ดี แก้ปัสสาวะขุ่นขาว แก้โรคทางเดินปัสสาวะ แก้ปัสสาวะเป็นเลือด อีกทั้งรากยังนำมาใช้เป็นยาระบาย และขับพยาธิไส้เดือนได้อีกด้วย

วิธีการปรุงยาสมุนไพร : ใช้เมล็ดทานตะวัน 30 กรัม นำไปต้มพร้อมน้ำตาลทรายแดงเล็กน้อย เคี่ยวทิ้งไว้ราว 60 นาที จากนั้นยกลง รอจนอุ่น นำมาดื่มบ่อย ๆ อาการถ่ายเป็นมูกเลือดจะค่อย ๆ ทุเลาลงจนหายไปในที่สุด 

2.เมล็ดแมงลัก

นอกจาก ลำต้น ใบ ดอก และรากของต้นแมงลัก จะมีสรรพคุณในการขับลม เป็นยาระบายช่วยลดไข้ได้แล้ว เมล็ดแมงลัก ยังสามารถนำมาใช้เป็นยาระบายอ่อน ๆ และมีสรรพคุณในการช่วยลดน้ำหนัก สำหรับผู้ที่ต้องการลดความอ้วนได้อีกด้วย

วิธีการปรุงยาสมุนไพร : รับประทานเมล็ดแมงลักครั้งละ 1-2 ช้อนชา ด้วยการแช่น้ำให้พอง นำมาดื่มก่อนนอนวันละ 1 แก้ว จะช่วยให้ขับถ่ายได้ดี

แต่หากรับประทานมากจนเกินไป จะทำให้เกิดอาการแน่นท้อง ไม่สบายท้องได้ การรับประทานเม็ดแมงลัก ในขณะที่ยังพองตัวไม่เต็มที่ อาจเกิดการดูดน้ำจากกระเพาะอาหารทำให้เม็ดแมงลักจับตัวกันเป็นก้อน และอุดตันในลำไส้ ซึ่งอาจทำให้ท้องผูกได้เช่นกัน หากรับประทานแบบผิดวิธี

แนะนำ : เกร็ดความรู้สั้น ๆ พร้อมข้อคิด วิธีการสร้างความสุขที่แท้จริง Ep.10
แนะนำ : 6 เกร็ดความรู้ใกล้ตัวน่ารู้ เกี่ยวกับพฤติกรรมที่ทำให้เราดูแก่ก่อนวัย Ep.11
แนะนำ : เกร็ดความรู้เรื่องสุขภาพ เกี่ยวกับการดูแลสุขภาพดวงตา Ep.12

3.สมอไทย

เป็นยาสมุนไพรประเภทไม้ยืนต้น ที่มีสรรพคุณในการแก้ไข้ ช่วยขับเสมหะ ทั้งยังมีสรรพคุณในการเป็นยาระบายได้อีกด้วย

ส่วนประโยชน์อื่น ๆ เช่น ผลดิบ กินเป็นผลไม้สด รสเปรี้ยวขม อมฝาด มีแทนนินเป็นจำนวนมาก หรือนำไปดองเกลือ ผลห่ามนำไปจิ้มน้ำพริก ผลอ่อนใช้เป็นยาระบาย ผลแก่เป็นยาฝาดสมาน แก้ลมจุกเสียด

เยื่อหุ้มเมล็ดแก้ขัด และโรคเกี่ยวกับน้ำดี มีสารอาหารที่เป็นประโยชน์หลายชนิด เช่น วิตามินซี วิตามินเอ แคลเซียม ฟอสฟอรัส

วิธีการปรุงยาสมุนไพร : นำเอาสมอไทย ผลแก่จัดที่ยังดิบอยู่จำนวน 3-5 ผล มาต้มกับน้ำ 1 ถ้วยรอจนเดือด เติมเกลือลงไปเล็กน้อย นำมาเทใส่ถ้วย รอจนอุ่น ดื่มครั้งละ 1 ถ้วย ก่อนอาหารในตอนเช้า จะช่วยระบายท้อง แก้อาการท้องผูก ทำให้ขับถ่ายได้สะดวก

4.ขี้เหล็ก

เป็นยาสมุนไพรประเภทไม้ยืนต้น ที่มีสรรพคุณในการเป็นยาระบาย ช่วยในการขับถ่ายได้อย่างดี ใบขี้เหล็กช่วยแก้ท้องผูก ถ่ายเป็นเลือด เป็นยาระบายอ่อน ๆ และยังช่วยขับพยาธิ ป้องกันการอักเสบจากแผลในกระเพาะอาหาร รักษาอาการท้องผูก และยังมีฤทธิ์ขับปัสสาวะได้ด้วย

นอกจากนี้ การนำดอกและใบขี้เหล็ก มาทำเป็นแกงรับประทานในเมื้ออาหาร ก็จะได้รสชาติที่อร่อย แถมยังช่วยในการขับถ่ายได้อีก

วิธีการปรุงยาสมุนไพร : สามารถนำเอาดอกตูม และแก่นของต้นขี้เหล็กประมาณ 1 กำมือ มาล้างน้ำให้สะอาด นำไปต้มกับน้ำประมาณ 2 ถ้วย รอจนเดือด เติมเกลือเล็กน้อย ยกลงจากเตา รอจนอุ่นหรือเย็น รินเอาแต่น้ำดื่มครั้งละ 1  ถ้วย วันละ 1 ครั้ง ก่อนอาหารในตอนเช้า จะช่วยให้ขับถ่ายได้สะดวก

แนะนำ : เกร็ดความรู้เรื่องสุขภาพ เกี่ยวกับการกินผักดิบ Ep.13
แนะนำ : 9 เกร็ดความรู้เรื่องสุขภาพ เกี่ยวกับผักผลไม้ที่มีสารสกัดทำให้ผิวขาว Ep.14
แนะนำ : เกร็ดความรู้เรื่องสุขภาพ เกี่ยวกับโรคลมชัก Ep.15

5.มะตูม

มะตูมสุกเนื้อเละ ใช้รับประทานเป็นผลไม้ และใช้เป็นยารักษาอาการท้องร่วง ท้องเดิน โรคลำไส้ ตาแห้ง ไข้หวัดธรรมดา และยังใช้รักษาอาการท้องผูกเรื้อรังได้

นอกจากจะช่วยลดความดันโลหิต แก้ร้อนในกระหายน้ำแล้ว ยังมีสรรพคุณเป็นยาระบายอ่อน ๆ นอกจากนี้ คนไทยถือว่ามะตูมเป็นไม้มงคล นิยมปลูกทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือของบ้านอีกด้วย 

วิธีการปรุงยาสมุนไพร : นำผลสุกของมะตูม มาหั่นเป็นแว่นๆ นำไปตากจนแห้ง รับประทานครั้งละ 1 แว่น โดยนำมาต้มกับน้ำ 1 ลิตร เติมน้ำตาล 4 ช้อนโต๊ะ รินดื่มแต่น้ำครั้งละ 1 ถ้วย วันละ 2 ครั้ง ตอนเช้าและก่อนนอน จะช่วยให้ระบายท้อง และขับถ่ายได้สะดวกขึ้น

6.ว่านหางจระเข้

ตัวยาจากยางสีเหลือง ของว่านหางจระเข้ ที่เรียกกันว่า “ยาดำ” นั้น มีสรรพคุณช่วยในการระบายท้อง รักษาอาการท้องผูก ช่วยในการขับถ่ายได้อย่างดี อีกทั้งขั้นตอนวิธีการทำ “ยาดำ” สามารถทำได้ด้วยตนเองแบบง่าย ๆ

มีการศึกษาวิจัยรายงานว่า วุ้นหรือน้ำเมือกของว่านหางจระเข้ รักษาแผลไฟไหม้ น้ำร้อนลวก แผลเรื้อรัง และแผลในกระเพาะอาหารได้ดี เพราะในวุ้นใบว่านหางจระเข้ นอกจากจะมีสรรพคุณรักษาแผล ต่อต้านเชื้อแบคทีเรียแล้ว ยังช่วยสมานแผลได้อีกด้วย

วิธีการปรุงยาสมุนไพร : ตัดใบว่านหางจระเข้ที่โคนใบ ให้เป็นรูปสามเหลี่ยม แล้วตัดให้น้ำยางสีเหลืองไหลลงในภาชนะ จากนั้นนำไปตั้งไฟ เคี่ยวจนเหนียวข้น นำไปเทลงในแม่พิมพ์ทิ้งไว้จนกว่าจะได้ก้อนยาดำที่มีสีน้ำตาลแดง ผิวมันเรียบ และมีกลิ่นรสขมรุนแรง

ซึ่งอุดมไปด้วยสารเคมีในกลุ่ม G – glycoside หรือที่เรียกว่า barbaloin  ซึ่งมีสรรพคุณในการนำมาใช้เป็นยาถ่ายได้อย่างดี โดยรับประทานครั้งละประมาณ 1-2 เม็ด ที่มีขนาดเท่าเมล็ดถั่วเขียว (ประมาณ 250 มิลลิกรัม) ในตอนเช้าก่อนรับประทานอาหาร จะช่วยให้ขับถ่ายได้ง่ายขึ้น

Tip : การออกกำลังกาย ช่วยเรื่องอาการท้องผูกได้ โดยจะช่วยกระตุ้นการเคลื่อนไหวของลำไส้ และเพิ่มการไหลเวียนของเลือด ทำให้ลำไส้ขับถ่ายได้ง่ายขึ้น นอกจากนี้ การออกกำลังกาย นอกจากช่วยให้สุขภาพร่างกายแข็งแรงแล้ว ยังช่วยลดความเครียดและสร้างความผ่อนคลายให้กับร่างกาย ซึ่งเป็นสิ่งที่ช่วยลดอาการท้องผูกได้อีกด้วย

เรียบเรียงข้อมูลโดย : siamzoneza

แนะนำ : 9 เกร็ดความรู้สั้น ๆ เรื่องสุขภาพ เกี่ยวกับสรรพคุณของผัก Ep.16
แนะนำ : 9 เกร็ดความรู้สั้น ๆ เรื่องสุขภาพ เกี่ยวกับผักที่มีวิตามินซีสูง Ep.17
แนะนำ : 8 เกร็ดความรู้เรื่องสุขภาพ เกี่ยวกับผลไม้ที่ให้พลังงานสูง Ep.18

เรื่องที่เกี่ยวข้อง