วันพุธ, 11 ธันวาคม 2567

เกร็ดความรู้เรื่องสุขภาพ : วิธีการดูแลอาการเข่าเสื่อมอย่างถูกวิธี Ep.35

ปัญหาอาการปวดหัวเข่าทุกวันนี้ ไม่ได้เป็นเฉพาะคนที่อายุมากเสมอไป กรรมพันธุ์ โรคประจำตัว การรับประทานอาหาร เป็นตัวการเกือบทั้งสิ้น

แต่โดยรวมร้อยละ 25 ของผู้ที่มีอายุมากกว่า 55 ปี มักมีปัญหาปวดเข่ากันมาก โดยเฉพาะผู้ที่น้ำหนักมาก ถึงจะไม่ได้เป็นทุกวัน แต่ก็เป็นอยู่บ่อย ๆ หลาย ๆ ครั้ง ถึงขั้นทรมานจนน้ำตาไหล

ความเสื่อมของข้อโดยทั่วไป จะเริ่มตั้งแต่อายุ 45 ปี แม้จะเอกซเรย์ไม่เห็นก็ตาม แต่อาการจะค่อย ๆ แสดงให้เห็นออกมาเรื่อย ๆ จนชัดเจน

สาเหตุของอาการ “เข่าเสื่อม” ที่พบเจอโดยทั่วไป

“เข่าเสื่อม” เกิดขึ้นได้หลายสาเหตุ อาทิ พันธุกรรม ความอ้วน อุบัติเหตุที่เข่า ยกของหนักเป็นประจำ ความผิดปกติแต่กำเนิด ความเสื่อมของร่างกายตามวัย เป็นต้น

ซึ่งตามจริงแล้ว อาจมีสาเหตุได้มากกว่านี้ ในรายที่เกิดจากอุบัติเหตุ หรือได้รับการบาดเจ็บ แม้จะได้รับการรักษามาแล้ว ก็ไม่ได้เป็นเครื่องยืนยันได้ว่า โครงสร้างของข้อเข่าจะกลับมาเหมือนเดิมได้ 100%

แต่ยิ่งไปกว่านั้นคือ ส่งผลให้มีโอกาสเกิดข้อเข่าเสื่อมก่อนวัยได้สูงมากขึ้น โดยในเฉพาะในรายที่ได้รับการรักษาไม่ถูกต้อง หรือหากมีการใช้ข้อเข่าหักโหมซ้ำ ๆ โดยอาจจำเป็นในการทำงาน หรือจำเป็นต้องงอเข่ามากเกินไป โดยการการคุกเข่า หรือนั่งยอง ๆ ก็จะทำให้เข่าต้องรับแรงกดสูงกว่าปกติ

ผู้ป่วยที่ “เข่าเสื่อม” ไปตามอายุที่มากขึ้น

ผู้ป่วยที่ “เข่าเสื่อม” เนื่องจากอายุมากขึ้น จัดได้ว่าเป็นการเสื่อมสภาพตามปกติ โดยเป็นไปตามวัย เพราะความสามารถในการซ่อมแซมตัวเองของกระดูกอ่อนลดลง

และผู้หญิงที่มีอายุมากกว่า 50 ปีขึ้นไป จะมีแนวโน้มของการเกิดข้อเข่าเสื่อมได้มากกว่าผู้ชายที่อายุเท่ากัน

ในรายที่เป็นโรคเกี่ยวกับไขข้อ เช่น รูมาตอยด์ เกาต์ อาการเจ็บปวดที่เกิดขึ้น จะมาจากความสึกหรอของข้อกระดูกอ่อน ที่หุ้มข้อเข่าด้านปลายกระดูกต้นขา และหัวกระดูกหน้าแข้งถูกทำลายลงไป ทำให้ไม่มีความยืดหยุ่นไว้รองรับการขยับไปมา จึงทำให้ข้อติด

บางครั้งทำให้ข้ออักเสบบวม มีน้ำในข้อเข่า ผู้ป่วยจะทรมานกับอาการเหล่านี้อยู่บ่อย ๆ

แนะนำ : เกร็ดความรู้เรื่องสุขภาพ เกี่ยวกับกล้วยหอม Ep.1
แนะนำ : เกร็ดความรู้เรื่องสุขภาพ เกี่ยวกับโรคมะเร็ง Ep.2
แนะนำ : 26 เกร็ดความรู้สั้น ๆ เรื่องสุขภาพ เกี่ยวกับมะเขือเทศ Ep.3

การรักษา “โรคเข่าเสื่อม” ทำได้หลายทางโดยแพทย์จะเป็นผู้วินิจฉัย

1.รักษาโดยการผ่าตัด

เมื่อไปพบแพทย์เพื่อรักษา อาจมีการวินิจฉัยได้หลายทาง แต่หากต้องรักษาด้วยการผ่าตัด ก็จะเป็นการผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียม หรือการผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียมด้านเดียว (Unicompartmental Knee Arthroplasty: UKA)

สำหรับผู้ป่วยที่มีปัญหาอ้วนมาก น้ำหนักไม่ลงขาจะทำให้ในไขข้อไม่มีเนื้อกระดูกอ่อนเป็นเบาะรอง ทำให้เนื้อกระดูกเข่าเสียดสีกันมาก อาการจะปวดทรมาน บางรายถึงขึ้นเดินมากไม่ได้ แพทย์จะพิจารณาผ่าตัดเปลี่ยนเข่า หรือใส่เข่าเทียม

ปัจจุบันการผ่าตัดพัฒนาขึ้นมาก ผู้ป่วยจะมีแผลเล็กและไม่เจ็บปวดเหมือนแต่ก่อน สามารถกลับบ้านได้เร็ว

ดังนั้นพัฒนาการทางการแพทย์ จะทำให้ผู้ป่วยสามารถกลับมามีข้อเข่าที่ใช้งานได้ปกติ โดยผู้ป่วยไม่ต้องกังวลกับการผ่าตัดมากเกินไป และที่สำคัญ หากเริ่มมีอาการควรรีบมาพบแพทย์เพื่อรับการวินิจฉัย โดยไม่ซื้อยามากินเอง เพราะจะทำให้เกิดผลข้างเคียงต่อสุขภาพได้

2.รักษาโดยการฉีดน้ำเลี้ยงเข้าไขข้อ

การฉีดน้ำเลี้ยงข้อเทียมเข้าในข้อเพื่อลดการอักเสบ และช่วยเสริมน้ำเลี้ยงข้อเข่าที่เสียไป ซึ่งจะมาช่วยทำหน้าที่รับแรงกระแทก และหล่อลื่นในข้อเข่า

การฉีดน้ำเลี้ยงไขข้อ เป็นทางเลือกในการช่วยลดอาการปวด และช่วยให้การเคลื่อนไหวข้อดีขึ้น รวมถึงการฉีดสเตียรอยด์เข้าข้อ เป็นทางเลือกในข้อเสื่อมรุนแรง ที่ไม่ตอบสนองต่อการรักษาวิธีอื่น

อาการ “ข้อเข่าเสื่อม” จะเจ็บปวดมากจนทำให้งอเข้าไม่ได้ โดยเฉพาะเวลาที่ต้องงอเขามาก ๆ เช่น นั่งยอง ๆ นั่งพับเพียบ นั่งขัดสมาธิ

ดังนั้นที่สำคัญ ผู้ป่วยไม่ควรซื้อยามากินเอง เพราะจะมีกระทบหรือมีผลข้างเคียงต่อสุขภาพได้ ควรให้แพทย์เป็นผู้วินิจฉัยจะดีที่สุด

3.รักษาโดยการให้รับประทานยา

หากแพทย์วินิจฉัยแล้วว่าไม่ต้องผ่าตัด หรือฉีดน้ำเลี้ยงเข้าไขข้อ ก็จะให้ยามารับประทานเพื่อลดการอักเสบหรือสึกหรอแทน โดยมียาหลายกลุ่มที่ใช้รักษา

อาทิ พาราเซตามอล ใช้ในการควบคุมอาการ ยาต้านการอักเสบ ที่ไม่ใช่สเตียรอยด์ช่วยลดอาการปวดและการอักเสบของข้อ ยาช่วยปรับเปลี่ยนโครงสร้างของข้อ เช่น กลูโคซามีนซัลเฟต จะช่วยชะลอโรค ซ่อมแซมผิวข้อ ลดการอักเสบและอาการปวด ซึ่งทั้งหมดที่กล่าวมานั้น เป็นยาทางเลือกในข้อเสื่อมระยะเริ่มต้น

การรับประทานยา จัดได้ว่าเป็นอีกทางเลือกที่ช่วยบรรเทาอาการปวด และช่วยให้เข่าเคลื่อนไหวได้ดีขึ้น กับผู้ป่วยในรายที่ไม่มีอากาปวดทรมานมากนัก

แนะนำ : 14 เกร็ดความรู้สั้น ๆ เกี่ยวกับวิธีการดูแลสุขภาพให้ได้ผลดีที่สุด Ep.4
แนะนำ : เกร็ดความรู้เรื่องสุขภาพ เกี่ยวกับพฤติกรรมการกินอาหารที่ถูกต้อง Ep.5
แนะนำ : เกร็ดความรู้เรื่องสุขภาพ เกี่ยวกับประโยชน์ของแอปเปิ้ล Ep.6

4.รักษาโดยการปรับเปลี่ยนชีวิตประจำวันให้เหมาะสม

วิธีนี้ผู้ป่วยต้องเริ่มจากใจก่อนเป็นอับดับแรก เพราะต้องจัดเวลาให้กับการออกกำลังกาย การทำกายภาพบำบัด การปรับเปลี่ยนท่าทางต่าง ๆ ให้เหมาะสมกับโรค จนถึงการรับประทานด้วย

รับประทานอาหารที่เหมาะสม เพื่อควบคุมน้ำหนักตัว จะไปช่วยลดแรงกดบนข้อเข่าได้ เลือกออกกำลังกายในท่าที่เหมาะสมกับอาการ เช่น ว่ายน้ำ ขี่จักรยาน เดิน เพราะเป็นกีฬาประเภทส่งแรงกระแทกข้อเข่าน้อย

โดยจะไปส่งเสริมให้ข้อเข่าแข็งแรง หากรองเท้าที่ใช้ไม่นุ่มพอ ให้ใช้แผ่นรองด้านในรองเท้าและสนับเข่าเข้าช่วยได้อีกทาง เพื่อช่วยพยุงและลดแรงกระทบต่อเข่า

หลีกเลี่ยงท่าทาง หรือการทำงานที่เสี่ยงต่อการปวดข้อเข่า อาทิ การยืนหรือเดินเป็นระยะเวลานาน การนั่งคุกเข่า นั่งพับเพียบ นั่งยอง ๆ นั่งขัดสมาธิ การเดินขึ้นลงบันไดจำนวนมากโดยไม่จำเป็น หรือแม้แต่การนั่งอยู่ในท่าเดิม ๆ เป็นระยะเวลานาน

สำหรับผู้ป่วยที่มีอายุมาก ควรมีไม้เท้าช่วยพยุง เพื่อช่วยลดแรงกระแทกที่เกิดกับข้อเข่า ที่นอนไม่ควรเป็นพื้นราบ เพราะจะทำให้ต้องใช้แรงของข้อเข่าเพิ่มมากขึ้น ในการยันตัวเองจากที่นอน

จัดเวลาเพื่อประคบอุ่นบริเวณข้อเข่าอย่างน้อย 1 ครั้ง / วัน เพราะจะช่วยลดอาการปวดของกล้ามเนื้อที่เกร็งได้

ทำกายภาพบำบัดเพื่อฝึกความแข็งแรงและความยืดหยุ่นของกล้ามเนื้อรอบข้อ ในกรณีที่รู้สึกว่าข้อเข่าเสียความมั่นคง ก็ให้สวมสนับเขาเพื่อช่วยกระชับได้อีกทาง เพื่อเป็นการลดอาการปวด

5.สารอาหารและวิตามินสำหรับผู้ป่วย

เลือกวิตามินเสริม โดยเน้นไปที่การบำรุงกระดูก สารอาหารที่ช่วยรักษาเสริมสร้างข้อและลดการเสื่อม ได้แก่ กลูโคซามีนและคอนดรอไอติน เป็นแคปซูล สามารถซื้อได้เองตามร้านขายยา ไม่มีผลข้างเคียง

สารกลูโคซามีน จะเข้าไปทดแทนในเนื้อเยื่อกระดูกอ่อน กระตุ้นให้มีการสังเคราะห์สารประกอบในกระดูกอ่อนในข้อ และทำให้น้ำเลี้ยงข้อเพิ่มขึ้นด้วย

Tip : สมุนไพรรักษาอาการข้อเข่าเสื่อม สามารถเลือกใช้สมุนไพรที่หาได้ง่าย ๆ เช่น ไพล,กำลังพญาเสือโคร่ง,ว่านหางจระเข้,เถาเอ็นอ่อน โดยนำมาเป็นปรุงเป็นยาสมุนไพร เพื่อรักษาร่วมด้วยได้ ก่อนนำมาใช้เพื่อการรักษา ควรศึกษาสัดส่วนในการปรุง รวมถึงล้างทำความสะอาดสมุนไพรด้วยทุกครั้ง

เรียบเรียงโดย : Siamzoneza

อ้างอิง : bumrungrad.com , sriphat.med.cmu.ac.th

แนะนำ : 7 เกร็ดความรู้สั้น ๆ เรื่องสุขภาพ เกี่ยวกับอาหารบำบัดโรค Ep.7
แนะนำ : 4 เกร็ดความรู้สั้น ๆ เรื่องสุขภาพ เกี่ยวกับการกินให้สุขภาพแข็งแรง Ep.8
แนะนำ : เกร็ดความรู้เรื่องสุขภาพ เกี่ยวกับการป้องกันการปวดหลังส่วนล่าง Ep.9

เรื่องที่เกี่ยวข้อง