วันจันทร์, 7 ตุลาคม 2567

แคลเซียม ช่วยรักษาอาการเต้นของหัวใจ ป้องกันการเกร็งตัว และเป็นตะคริว Ep.70

แคลเซียมคาร์บอเนต  (Calciumcarbonate) แคลเซียม จัดอยู่ในกลุ่มของเกลือแร่หลักที่จำเป็นต่อร่างกาย เป็นส่วนประกอบโครงสร้างหลักที่สำคัญ คือกระดูกและฟัน ร้อยละ 90 ของแคลเซียมทั้งหมดที่อยู่ในร่างกายถูกสะสมไว้ในรูปของกระดูกและฟัน ที่เหลืออีกเล็กน้อยจะอยู่ในกระแสเลือด และเนื้อเยื่อ ร่างกายมีระบบควบคุมสมดุลของแคลเซียมที่ซับซ้อนมาก “ฮอร์โมนพาราไทรอยด์” ที่ผลิตจากต่อมพาราไทรอยด์จะคอยควบคุมระดับแคลเซียม และฟอสฟอรัสให้สมดุลกันและมี “ฮอร์โมนแคลซิโทนิน” ที่ผลิตจากต่อมไทรอยด์จะคอยขับฟอสฟอรัสออกจากร่างกาย และลดปริมาณที่แคลเซียมจะเคลื่อนที่จากกระดูกเข้าสู่กระแสเลือด เมื่อเห็นว่าแคลเซียมในร่างกายมีระดับที่ลดน้อยลง เพราะปริมาณแคลเซียมและฟอสฟอรัสที่มีมากเกินไปจะไปรบกวนสมดุลของร่างกายของอีกฝ่ายหนึ่ง

 

 

แคลเซียมกับการสร้างกระดูก แทบไม่ต้องอธิบายเลยว่าแคลเซียมมีความสำคัญต่อระบบกระดูกมากขนาดไหน เพราะปริมาณร้อยละ 60 ของมีกระดูกคือแคลเซียม ร่างกายจึงมีความจำเป็นที่จะต้องใช้แคลเซียมเป็นจำนวนมาก เพื่อสร้างเนื้อกระดูก และปริมาณแคลเซียมที่มีทั้งหมดในร่างกายกว่า 90 เปอร์เซ็นต์สะสมอยู่ในกระดูก ที่เหลืออีก 10 เปอร์เซ็นต์จะอยู่ในกระแสเลือด และเนื้อเยื่อต่างๆ แคลเซียม ช่วยให้กระดูกและฟันแข็งแรง ถ้าหากเราต้องการโครงสร้างร่างกายสูงใหญ่แล้ว ควรที่จะบริโภคอาหารที่มีแคลเซียมในปริมาณที่สูง ควบคู่ไปกับแหล่งอาหารที่ให้โปรตีน ไม่ต้องดูจากที่ไหนดูจากคนทางยุโรปที่บริโภคนม และเนื้อเป็นหลัก จะเห็นได้ว่าร่างกายของเขามีขนาดใหญ่โตแค่ไหน

 

ความเสี่ยงกับระบบโลหิต เลือดจำเป็นต้องมีแคลเซียม เพื่อช่วยเพิ่มความหนาแน่นของเลือดเอง และช่วยให้เลือดแข็งตัวได้เมื่อมีการฉีกขาดของเส้นเลือด โดยปกติแล้วเลือดและกระดูกมีการถ่ายเทแคลเซียมกันอยู่ตลอดเวลา และนี่ก็เป็นสาเหตุหลักให้ถูกต้องสูญเสียแคลเซียม เมื่อร่างกายได้รับแคลเซียมน้อยลง เลือดจึงเอาแคลเซียมจากเนื้อกระดูกมาใช้งาน ทำให้ร่างกายสูญเสียเนื้อกระดูก และเมื่อร่างกายขาดแคลเซียมอย่างรุนแรง ร่างกายจะสร้างกลไกป้องกันการสูญเสียเนื้อกระดูกขึ้น โดยที่ฮอร์โมนแคลซิโทนินจะลดปริมาณแคลเซียมไปสู่เลือดให้น้อยลง เลือดจึงขาดแคลเซียม ทำให้เลือดไม่แข็งตัวเมื่อเกิดบาดแผล ซึ่งเป็นผลกระทบแบบลูกโซ่ เพื่อไม่ให้เกิดภาวะนี้เราจึงควรได้รับแคลเซียมในแต่ละวันให้ได้อย่างเพียงพอ

 

4 ประโยชน์ของแคลเซียม

แคลเซียมเป็นพื้นฐานโครงสร้างของร่างกาย จากรายงานทางการแพทย์ระบุไว้ว่า หากเด็กได้รับแคลเซียมอย่างเพียงพอตั้งแต่เกิด จะทำให้มีโครงสร้างร่างกายที่แข็งแรง และยังช่วยลดอัตราเสี่ยงที่จะเป็นโรคกระดูกพรุนเมื่อสูงอายุ แคลเซียมไม่ได้มีประโยชน์เฉพาะในเรื่องของโครงสร้างร่างกายที่แข็งแรง ในด้านอื่นๆ แคลเซียมก็ยังมีบทบาทต่อร่างกายอีกหลายอย่าง ทั้งในส่วนของกล้ามเนื้อ รวมไปถึงการช่วยในกระบวนการทางเคมีต่างๆ ของร่างกาย

1.ช่วยรักษาและป้องกันอาการไวต่อสิ่งเร้าที่มากเกินไปของกล้ามเนื้อ ป้องกันการเกร็งตัว และเป็นตะคริว ลดความเสี่ยงที่จะเกิดอาการหัวใจหยุดเต้นแบบเฉียบพลัน

2.ช่วยลดปริมาณแมกนีเซียม เมื่อเกิดภาวะแมกนีเซียมเป็นพิษ และช่วยขับสารตะกั่วออกจากร่างกาย

3.ช่วยกระตุ้นการใช้กรดอะมิโนของร่างกาย ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในวิตามินบี 9 (โฟเลต) และบี 12 (โคบาลามิน) ในการจับโฮโมซีสเทอีนในเลือด

4.ช่วยรักษาอาการเต้นของหัวใจ ลดการจับตัวกันเป็นลิ่มของเลือด ทำหน้าที่เหมือนเป็นยาลดกรดในกระเพาะอาหาร เพื่อป้องกันไม่ให้มีกรดในกระเพาะอาหารมากจนเกินไป

 

แหล่งของแคลเซียม ปริมาณเฉลี่ยขั้นต่ำ ที่ร่างกายควรได้รับแคลเซียมในแต่ละวันอยู่ที่ประมาณ 800 – 1,500 มิลลิกรัม ซึ่งเป็นปริมาณที่พอจะหาได้จากแหล่งอาหารตามธรรมชาติ แต่ด้วยปริมาณที่มากขนาดนี้ ในบางครั้งการที่เราจะรับจากแหล่งอาหารนั้นอาจจะไม่เพียงพอต่อความต้องการ โดยเฉพาะในเด็กที่อยู่ในช่วงวัยกำลังเจริญเติบโต ควรจะได้รับในอัตราที่มากกว่าปริมาณขั้นต่ำสักเล็กน้อย เพื่อให้พัฒนาการทางด้านโครงสร้างของร่างกายเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ และต่อเนื่อง การใช้ผลิตภัณฑ์เสริมอาหารจึงน่าจะเป็นทางเลือกที่ดีต่อร่างกาย

 

แคลเซียม มีความจำเป็นสำหรับเด็กวัยกำลังเจริญเติบโตมาก ผลิตภัณฑ์เสริมอาหารสำหรับเด็กซึ่งมักจะมีการเติมแคลเซียมเพิ่มเข้าไปเกือบจะทุกชนิด เพื่อใช้เป็นจุดขายที่เน้นสำหรับบรรดาคุณแม่ เพื่อซื้อไปให้ลูกๆ จนบางครั้งลืมนึกไปว่าแคลเซียมที่มากเกินความพอดี อาจจะทําให้เกิดสิ่งผิดปกติแต่ลูกสุดที่รักได้ เพราะแคลเซียมที่มากเกินไปจะเกิดการสะสมและตกตะกอนขึ้นภายในร่างกาย จนเป็นสาเหตุให้เกิดการอุดตันในส่วนต่างๆ เช่น ท่อน้ำดี หรือทางเดินปัสสาวะ จึงควรให้ปริมาณแคลเซียมเสริมที่พอเหมาะพอดี ในปริมาณที่ไม่เกิน 1,800 มิลลิกรัมต่อวัน หรือหากใช้ผลิตภัณฑ์เสริมแคลเซียมอย่างต่อเนื่อง ก็ไม่ควรนเกินวันละ 1,500 มิลลิกรัม

 

ผลิตภัณฑ์เสริมแคลเซียม ควรจะใช้ในลักษณะของนมผสมแคลเซียม เพื่อให้ได้ประโยชน์จากสารอาหารที่อยู่ในนมชนิดอื่นๆ ไปในตัว เช่น วิตามินบีชนิดต่างๆ และวิตามินดี ที่สำคัญปริมาณนม 1 กล่อง จะระบุปริมาณแคลเซียมที่ผสมอยู่ไว้ข้างกล่อง ทำให้สามารถกำหนดปริมาณแคลเซียมที่เด็กควรจะได้รับในแต่ละวันได้ด้วย ร่างกายจะดูดซึมแคลเซียมได้ดียิ่งขึ้น ถ้าใช้ควบคู่กับวิตามินดี (แคลซิเฟอรอล) วิตามินดีจะช่วยเพิ่มความสามารถในการจับแคลเซียมของร่างกายให้ดียิ่งขึ้น เราควรเราจึงควรรับแคลเซียมพร้อมกับแหล่งอาหารที่ให้วิตามินดีไปพร้อมๆ กัน เพื่อให้ร่างกายจับแคลเซียมได้ดียิ่งขึ้น ควรงดเว้นอาหารที่มี “ไฟเตต” เป็นส่วนประกอบ ด้วยไฟเตตเป็นกากใยอาหารชนิดหนึ่ง จะมีมากในผักปวยเล้ง ถั่วเมล็ดแห้ง และในธัญพืชที่ผ่านการขัดขาวแล้วทั้งหลาย ไฟเตตทำให้ความสามารถในการดูดซึมแคลเซียมของร่างกายแย่ลง เราจึงควรงดเว้นการรับแรงงานเหล่านี้ร่วมกับอาหารที่ให้แคลเซียม

 

ที่มาและการอ้างอิง

สุดยอดอาหารเพื่อสุขภาพ วิตามิน A – Zinc   รศ.สุกมล  ณรงค์วิทยากุล