วันพฤหัสบดี, 12 ธันวาคม 2567

กินอาหารเสริมอย่างไรให้ “ต้านความชรา” Ep.88

เมื่อวิวัฒนาการของมนุษย์เจริญขึ้น ความหลากหลายของอาหารก็มากขึ้นตาม ความนิยมจากเดิมเป็นมนุษย์ถ้ำ ฉีกเนื้อสัตว์ดิบกิน จนถึงสมัยรุ่งเรื่องอารยธรรมกรีก-โรมัน วัฒนธรรมการกินที่มีระเบียบแบบแผนและมีความหลายหลายของอาหารทั้งเนื้อสัตว์เป็นตัว นกยูง หมูป่า ทั้งตัว ผัก ผลไม้ต่างๆ ในยุโรปก็สืบมาจากสมัยโรมันนั่นเอง แม้แต่อาหารต่างๆ ที่เรารับประทานอยู่ทุกวันนั้น แต่ละชนิดก็มีสารอาหารต่างกัน บางครั้งยากที่เราจะกะหรือคาดคะเนเอง เช่น ส้มแต่ละลูกมีวิตามินซีและแคโรทีนอยด์ไม่เท่ากันแน่นอน อาหารอื่นก็เช่นเดียวกัน หลักสำคัญที่จะกล่าวถึงนี้ เพื่อที่เราทุกคนจะได้รับประทานอย่างฉลาดมากขึ้น

 

สารต้านอนุมูลอิสระที่จำเป็นต่อร่างกายมีหลักๆ ดังนี้

1) วิตามิน
2) เกลือแร่
3) สารไฟโตนูเทรียน์ (phytonutrients)

 

ร่างกายสามารถสร้างสารต้านอนุมูลอิสระได้ และเราสามารถได้รับสารต้านอนุมูลอิสระจากอาหาร โดยเฉพาะ ผักกลุ่ม Cruciferous vegetables เช่น แขนงกะหล่ำ กะหล่ำปลี กะหล่ำดอก คะน้า บรอคโคลี่ หัวเทอร์นิปหรือผักกาดเขียว ในสมัยก่อนนักวิทยาศาสตร์เชื่อว่าเพียงพอเป็นแหล่งวิตามิน A,C,E และแร่ธาตุ ซึ่งมีประโยชน์ในทางด้านอนุมูลอิสระทั้งนั้น แต่ปัจจุบันงานวิจัยใหม่ๆ ที่ตีพิมพ์แนะนำว่า การรับประทานวิตามินอย่างเดียวอาจไม่เพียงพอ หากต้องการจะต้านความชราและป้องกันโรค

 

ในหลายๆ กรณีเราต้องการในปริมาณที่สูงกว่า ค่า RDA และค่าที่ต้องการรายวัน (Daily Value,DV) เป็นสิบเท่าเลยทีเดียว เนื่องจากในชีวิตประจำวันทุกวันนี้ เราได้รับอนุมูลอิสระอย่างมากจนเรียกได้ว่าท่วมทันเลยทีเดียว ทั้งจากอาหาร พืชผักที่ปนเปื้อนสารเคมี, บรรจุภัณฑ์ที่ไม่ได้มาตรฐานของอาหาร ควันบุหารี หรือมลภาวะต่างๆ จึงจำเป็นต้องเสริมสารต้านอนุมูลอิสระที่มีศักยภาพสูงที่เรียกว่า phytonutrient หรือ phytochemicals เข้าไปช่วย

 

มีรายงานเสนอใน Journal of Clinical Nutrition กล่าวถึง phytonutrient กลุ่ม Oligomeric proanthocyanidins (OPCs) ซึ่งมีศักยภาพต้านอนุมูลอิสระสูงกว่าวิตามินซีและอีถึง 50 เท่าและกล่าวถึงสาร phytonutrients ชนิดอื่นอีกคือ แคโรทีนอยด์ไลโคปีน (พบมากในมะเขือเทศ) ซีอาแซนทินและลูเทอีน ซึ่งเป็นพระเอกที่แท้จริงในการควบคุมอนุมูลอิสระออกซิเจน เหล่านี้คือการศึกษาที่ยืนยันถึงประโยชน์ในการต้านความชราของ phytonutrients

 

กลุ่มของสาร Phytonutrients ที่ช่วยชะลอความชรา

1) เบต้า-แคโรทีน

2) กรดแอลฟ่า-ไลพอิค

3) ซิตรัส ไบโอฟลาโวนอยด์

4) ลิวทีน

5) ไลโคพีน

6) สารสกัดจากเมล็ดองุ่น (grapeseed)

7) เคอร์ซิติน (Quercetin)

8) คาร์ทีซิน (Catechins)

 

Anti-oxidants ที่สำคัญ

1) แคโรทีนอยด์ (Carotenoids) โดยเฉพาะ เบต้าแคโรทีน (Beta-Carotene) ลูเทอีน (lutein) และไลโคปีน (lycopene)

2) อะเซทิล-แอล-คาร์นิทีน (Acetly-L-carnitine) กรดอัลฟ่าไลโปอิก (Alpha-lipoic acid)

3) เมทไทโอนีน (Methionine)

4) เซลีเนียม (Selenium)

5) ซุปเปอร์ออกไซด์ติสมิวเทส (Superoxide dismutase)

6) วิตามินซี (Vitamin C)

7) วิตามินอี (Vitamin E)

8) สังกะสี (Zinc)

 

แร่ธาตุที่สำคัญ

1) ซีลีเนียม

2) สังกะสี

3) ทองแดง

4) แมงกานีส

5) โครเมียม

6) โมลิบดินั่ม

7) แมกนีเซียม

8) ซิลิคอน

9) ไอโอดิน

10) ธาตุเหล็ก

11) แคลเซียม

 

สรุปการเสริมสารอาหารเพื่อต้านความชรา

ควรรับประทานให้ได้ปริมาณที่เหมาะสม สำหรับออกฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระและป้องกันโรคได้ โดยปริมาณที่แนะนำให้รับประทานรายวัน (RDA) นั้น คำนวณมาจากค่าต่ำสุด (minimum) ที่ควรรับประทาน เพื่อไม่ให้เกิดโรคจากการขาดวิตามิน มิใช่คำนวณจากปริมาณที่จะช่วยทำให้สุขภาพดีที่สุด (maximum) ถ้าสังเกตให้ดีปัจจุบันจะเห็นว่าค่า RDA มีแนวโน้มที่ค่อยๆ สูงขึ้น เพราะผู้เสนอนโยบายเพิ่งตระหนักถึงประโยชน์ของการใช้วิตามินรักษาป้องกันโรค ดังนั้นเราควรรับประทานอาหารเสริมที่มีวิตามินครบและในปริมาณที่มีประสิทธิภาพสูง (High potency formula) พอที่จะต้านความแก่ของอวัยวะต่างๆ ได้ ซึ่งวิตามินรวมสำเร็จรูปที่ทานวันละเม็ดนั้น มีปริมาณไม่พออย่างแน่นอน เนื่องจากวิตามินรวมสำเร็จรูปส่วนใหญ่ทำมาจากวิตามินสังเคราะห์ต้นทุนต่ำและเกลือแร่ที่ดูดซึมเข้าร่างกายได้ไม่ดี นอกจากนั้นหากต้องการต้านความชราจะต้องทานหลายเม็ดซึ่งทำให้คุณได้รับสารอาหารอื่นในวิตามินเกินพอดีด้วย

 

ดังนั้น นอกจากรับประทานผลไม้และผักกลุ่ม cruciferous แล้ว หากต้องการเลือกผลิตภัณฑ์เสริมอาหารควรเลือกที่ประกอบด้วย วิตามิน แร่ธาตุและไฟโตนูเทรียนท์ ในปริมาณที่สูงพอจะต้านความชราได้ และที่สำคัญต้องเป็นสารอาหารที่ดูดซึมได้ดีด้วย เพื่อให้มีทั้งอายุยืนและสุขภาพดีตรงกับเป้าหมายสูงสุดของเวชศาสตร์อายุรวัฒน์

 

ที่มา : ถอดรหัสความชรา ตอน 120 วิธี อายุยืน 120 ปี เล่ม 1 เรียบเรียงโดย นพ.กฤษดา ศิรามพุช