วันพฤหัสบดี, 3 ตุลาคม 2567

โรคต่อมไทรอยด์ต้องควบคุม 9 อาหารต่อไปนี้ Ep.116

หากคุณเป็นโรคไทรอยด์ สิ่งที่คุณกินย่อมมีผลต่อต่อมไทรอยด์ และมีผลต่อการรักษา สารอาหารบางอย่างมีผลต่อการทำงานของต่อมไทรอยด์ อาหารบางชนิดสามารถยับยั้งความสามารถของร่างกายในการดูดซับฮอร์โมนที่อาจต้องใช้เป็นส่วนหนึ่งของการรักษา

 

 

ไทรอยด์เป็นต่อมไร้ท่อที่ใหญ่ที่สุดในร่างกายมนุษย์ ส่งผลเสียอย่างมากหากมันทำงานผิดปกติ ซึ่งต่อมไทรอยด์นี้มีหน้าที่ผลิตฮอร์โมนไทรอยด์ ซึ่งเป็นฮอร์โมนที่มีความสำคัญอย่างยิ่งต่อการเจริญเติบโตของร่างกาย รวมทั้งควบคุมการทำงานของอวัยวะอื่นๆ ทั่วร่างกาย เมื่อต่อมไทรอยด์ทำงานผิดปกติ จึงส่งผลให้ทุกระบบปรวนแปร ทั้งร่างกาย จิตใจ และสมอง โดยเฉพาะต่อประสาทการทำงานอัตโนมัติ ซึ่งเป็นสิ่งที่เราควบคุมไม่ได้ ขนาดของต่อมไทรอยด์แตกต่างกันไปตามอายุ เพศ และภาวะโภชนาการ ขนาดจะค่อนข้างโตในวัยรุ่น หนุ่มสาว และในคนที่ได้รับอาหารเพียงพอครบถ้วน ในผู้หญิงต่อมนี้จะโตขึ้นเล็กน้อยชั่วคราวขณะตั้งครรภ์และขณะมีประจำเดือน

 

สาเหตุของโรคไทรอยด์

โรคไทรอยด์มากกว่าครึ่งมีสาเหตุมาจากความผิดปกติของภูมิคุ้มกัน (หรือเม็ดเลือดขาวในกระแสเลือด หรืออิมมูนซิสเต็ม) ซึ่งโรคนี้ผู้ป่วยมีความเจ็บป่วยรุนแรงไม่เท่ากัน การรักษาจึงทำได้ในระดับที่ควบคุมให้ภาวะของโรคนั้นเบาลง หรือทำให้โรคสงบ และทำให้คนไข้สามารถใช้ชีวิตได้อย่างเป็นปกติมากที่สุด ซึ่งการรักษาในปัจจุบันมีแนวโน้มที่จะให้กินยาต่อเนื่องในระยะยาว ในขณะที่วงการแพทย์ยังพยายามหาทางแก้ไขปัญหาที่ต้นเหตุต่อไป

 

สาเหตุที่มาจากพันธุกรรมและไวรัส เป็นสิ่งที่เราไม่สามารถควบคุมดูแลได้ แต่สำหรับความเครียด และภูมิคุ้มกันนั้น เป็นเรื่องที่เราสามารถดูแลป้องกันตัวเองได้ โดยธรรมชาติ เวลาคนเราเครียด ร่างกายจะมีกลไกที่ทำให้ฮอร์โมนหลั่งออกมาจากส่วนต่างๆ เพื่อช่วยให้มีพละกำลัง มีความสามารถ หรือมีอะไรบางอย่างที่มากกว่าภาวะปกติ มาขับดันตัวเราให้เอาชนะความกดดันนั้นไปได้ และผลจากการเปลี่ยนแปลงของกระบวนการในร่างกายนั้นมีมากมาย โดยเฉพาะในต่อมไร้ท่อ ไม่ว่าจะเป็นต่อมไทรอยด์ ต่อมหมวกไต หรือต่อมใต้สมอง รวมทั้งในระดับเซลล์ ระดับอวัยวะ ซึ่งส่งผลกระทบต่อการทำงานของร่างกายตามมา ที่สำคัญคุณหมอยังเล่าให้ฟังถึงผลการวิจัยหลายชิ้นที่แสดงให้เห็นว่าความเครียดมีส่วนไปกระตุ้นระบบภูมิคุ้มกันตนเองที่อาจจะไม่ค่อยดีอยู่แล้ว ทำให้เกิดเป็นโรคนี้ขึ้นมา

 

 

ภาวะสุขภาพหลายอย่างรวมถึงปัจจัยบางอย่าง อยู่นอกเหนือการควบคุมของตัวเรา ดังนั้นการควบคุมอาหาร และการเลือกรับประทานอาหารจึงมีบทบาทสำคัญในการช่วยรักษาภาวะต่อมไทรอยด์ได้ อาหารบางอย่างที่สายสุขภาพนำมารับประทาน เป็นสิ่งรับประทานได้แต่ยังไงแล้วก็ยังคงต้องควบคุมอยู่ดี เพราะมีผลต่อภาวะไทรอยด์ รวมถึงอาหารฟาสต์ฟูด อาหารทอด อาหารแปรรูปเค็ม ขนมหวาน เช่น ขนมเค้ก คุกกี้และไอศครีม รวมไปจนถึงแอลกอฮอล์ด้วย และมีอาหาร 9 ประเภทใหญ่ ๆที่แนะนำว่าผู้ป่วยโรคต่อมไทยรอยด์ห้ามกิน หรือควรรับประทานอย่างระมัดระวัง

 

อ่านเพิ่มเติม6 ข้อควรระวัง สำหรับผู้ป่วยโรคต่อมไทรอยด์ ในการดื่มน้ำผักผลไม้และการกินอาหาร

 

1.อาหารจำพวกถั่วเหลือง

สารประกอบบางอย่างในถั่วเหลือง เรียกว่า isoflavones ซึ่งนักวิจัยบางคนเชื่อว่ามีในถั่วเหลืองมากเกินไป อาจเพิ่มความเสี่ยงต่อภาวะพร่องไทรอยด์ มีงานวิจัยบางชิ้นแนะนำว่า การบริโภคถั่วเหลืองอาจส่งผลต่อความสามารถในการดูดซึมยาไทรอยด์  จึงอาจต้องรอถึง 4 ชั่วโมงหลังจากรับประทานอาหารที่ทำจากถั่วเหลืองก่อนทานยาตามปกติ ดังนั้นผู้ป่วยควรปรึกษาแพทย์ผู้รักษาเพื่อขอรับคำแนะนำเพิ่มเติม

 

2.ผักตระกูลกะหล่ำ

เช่น บรอคโคลี่และกะหล่ำปลี เต็มไปด้วยเส้นใยอาหารและสารอาหารอื่น ๆ ที่อาจรบกวนการสร้างไทรอยด์ฮอร์โมนหากคุณมีการขาดสารไอโอดีน ดังนั้นผู้ป่วยจึงควรจำกัดการรับประทานกะหล่ำปลี กะหล่ำดอก ดอกผักกาด บรอคโคลี่ มีการวิจัยชี้ให้เห็นว่าการย่อยผักเหล่านี้ อาจขัดขวางความสามารถของต่อมไทรอยด์ในการใช้ไอโอดีนตามปกติ ดังนั้นอาจรับประทานได้แต่ไม่มากเหมือนคนทั่วไป จึงจะไม่มีผลกระทบต่อการทำงานของต่อมไทรอยด์

 

3.กลูเตนโปรตีน ขนมปัง พาสต้า และข้าว

กลูเตน (Gluten) เป็นชื่อของโปรตีนชนิดหนึ่งที่ทำหน้าที่เป็นเสมือน ‘กาว’ ในการเชื่อมส่วนของอาหารไว้ด้วยกัน พบได้ในอาหารหลายชนิด โดยเฉพาะในธัญพืชกลุ่ม ข้าวสาลี ข้าวไรย์ ข้าวบาร์เลย์ นอกจากนี้ กลูเตนสามารถพบได้ในอาหารทั่วไป รวมถึงยาเม็ดหรือยาแคปซูลบางชนิด ดังนั้นหากคุณจำเป็นต้องหลีกเลี่ยงกลูเตน จึงควรศึกษาฉลากสินค้าหรือฉลากยาอย่างละเอียดก่อนรับประทานทุกครั้ง

 

ผู้ที่มีภาวะพร่องไทรอยด์ อาจต้องลดปริมาณกลูเตนโปรตีนที่พบในอาหารแปรรูปจากข้าวสาลี ข้าวบาร์เลย์ ข้าวไรย์ และธัญพืชอื่น ๆ และหากคุณป่วยเป็นโรคเกี่ยวกับช่องท้อง กลูเตนจะทำให้ลำไส้เล็กระคายเคืองและอาจขัดขวางการดูดซึมของยาทดแทนฮอร์โมนไทรอยด์ หากคุณเลือกที่จะทานกลูเตน ต้องเลือกขนมปัง พาสต้า และข้าว ซึ่งมีใยอาหารและสารอาหารอื่น ๆ สูง เพราะจะช่วยปรับปรุงความผิดปกติของลำไส้ได้ ซึ่งเป็นอาการของภาวะไทรอยด์ทำงานผิดปกติ

 

4.อาหารที่มีไขมัน เช่น เนย, เนื้อสัตว์, ของทอด

พบว่าไขมันถูกขัดขวางความสามารถของร่างกาย ในการดูดซึมยาทดแทนฮอร์โมนไทรอยด์ ไขมันอาจรบกวนความสามารถของไทรอยด์ในการสร้างฮอร์โมนได้ด้วยเช่นกัน ผู้เชี่ยวชาญด้านการดูแลสุขภาพบางคนแนะนำให้คุณตัดอาหารทอดออกไปทั้งหมด และลดการบริโภคไขมันจากแหล่งต่าง ๆ เช่น เนย มายองเนส มาการีน รวมถึงไขมันในเนื้อสัตว์ด้วย

 

5.อาหารหวาน เช่น ชีสเค้ก ช็อคโกแลต

Hypothyroidism สามารถทำให้เมแทบอลิซึมของร่างกายทำงานช้าลง คุณต้องหลีกเลี่ยงอาหารที่มีน้ำตาลมากเกินไป เพราะแคลอรี่จำนวนมากไม่มีสารอาหาร หากคุณลดปริมาณหรืองดกินน้ำตาลจากอาหารหวานดังกล่าวได้ ก็จะเป็นการดีที่สุดมากกว่า

 

6.อาหารแปรรูปประเภทแช่แข็ง

อาหารแปรรูปมีแนวโน้มที่จะมีโซเดียมจำนวนมาก และผู้ที่มีภาวะไทรอยด์ทำงานต่ำควรหลีกเลี่ยงโซเดียม ผู้ป่วยไทยรอยด์ที่ไม่ได้รับการผ่าตัด จะเพิ่มความเสี่ยงของความดันโลหิตสูงจากโซเดียมที่มากเกินไป ดังนั้นการอ่านฉลาก “ข้อมูลโภชนาการ” บนบรรจุภัณฑ์ของอาหารแปรรูป เพื่อเลือกชนิดที่มีโซเดียมต่ำจะช่วยลดความเสี่ยงของภาวะความดันโลหิตสูงได้ด้วย

 

7.ไฟเบอร์ส่วนเกินจากถั่ว พืชตระกูลถั่ว และผัก

การได้รับใยอาหารที่เพียงพอเป็นสิ่งที่ดี แต่การที่ไทรอยด์ทำงานหนักเกินไป ก็จะมีผลต่อระบบย่อยอาหาร และอาจรบกวนการดูดซึมของยาทดแทนฮอร์โมนไทรอยด์ แต่หากคุณได้รับไฟเบอร์ดังกล่าวมากเกินไป แพทย์อาจจำเป็นต้องเพิ่มยาต่อมไทรอยด์ให้สูงขึ้น หากร่างกายไม่สามารถดูดซับยาได้เพียงพอ

 

8.กาแฟ

คาเฟอีนถูกพบว่าป้องกันการดูดซึมของฮอร์โมนทดแทนไทรอยด์ คนที่ทานยาไทรอยด์และดื่มกาแฟในตอนเช้า จะทำให้มีระดับต่อมไทรอยด์ที่ควบคุมไม่ได้ ดังนั้นควรกินยาด้วยน้ำเปล่า และควรรออย่างน้อย 30 นาทีหลังจากทานยา จึงดื่มกาแฟจะเป็นการดีที่สุด

 

9.แอลกอฮอล์

เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ จะสร้างความเสียหายให้กับทั้งไทรอยด์ฮอร์โมนในร่างกาย และความสามารถของไทรอยด์ในการผลิตฮอร์โมน แอลกอฮอล์ดูเหมือนจะมีพิษในต่อมไทรอยด์ และยับยั้งความสามารถของร่างกายในการใช้ฮอร์โมนไทรอยด์ หากจำเป็นควรดื่มเพียงเล็กน้อย หรือการเลิก และไม่ดื่มเลยจะดีกว่า

 

source : everydayhealthth.wikipedia.orghonestdocs