วันเสาร์, 27 กรกฎาคม 2567

7 เกร็ดความรู้สั้น ๆ เรื่องสุขภาพ เกี่ยวกับอาหารบำบัดโรค Ep.7

อาหารทั่วไปและอาหารควบคุมบางอย่าง มีข้อดีอย่างเห็นได้ชัดสำหรับร่างกาย คือทำให้สุขภาพแข็งแรง และอาการดีขึ้นเมื่อไม่สบาย เช่น ถ้าคุณเคยผ่าตัดท้องน้อย คุณจะทราบดี เกี่ยวกับอาหารควบคุมที่เป็นของเหลวทั้งหมด การกินซุปไก่หลังผ่าตัด จะทำให้คุณรู้สึกดีขึ้น โดยไม่ทำให้ปวดท้อง

ถ้าคุณเป็นเบาหวาน ร่างกายไม่สามารถผลิตอินซูลินที่จำเป็นต่อการดูดซึมคาร์โบไฮเดรต คุณก็จะทราบดีว่า จะรักษาสมดุลของคาร์โบไฮเดรต ไขมัน และโปรตีนจากอาหารที่กินประจำวันได้อย่างไร

7 เกร็ดความรู้สั้น ๆ เรื่องสุขภาพ เกี่ยวกับอาหารบำบัดโรค

1.อาหารอ่อน

อาหารประเภทซุป เหมาะสำหรับคนที่ผ่าตัดคอและศีรษะ คนที่ใส่ฟันปลอม หรือคนที่มีปัญหาในการบดเคี้ยวอาหาร

2.อาหารที่จำกัดเกลือโซเดียม

เกลือโซเดียมจะดูดน้ำ ทำให้เนื้อเยื่อของร่างกายดูดซับน้ำไว้มาก อาหารที่มีเกลือโซเดียมต่ำ จะทำให้เนื้อเยื่ออุ้มน้ำไว้ให้น้อยลงด้วย ซึ่งมีประโยชน์มาก สำหรับการรักษาโรคความดันเลือดสูง โรคหัวใจล้มเหลว เนื่องจากมีน้ำคั่งและโรคตับ

3.อาหารที่มีไขมันและคอเลสเตอรอลต่ำ

อาหารในกลุ่มนี้ เป็นอาหารขั้นที่ 1 สำหรับลดระดับคอเลสเตอรอลในเลือด อาหารควบคุม จะจำกัดการกินคอเลสเตอรอลไม่เกิน 30 มิลลิกรัมต่อวัน และการกินไขมันทั้งหมดไม่เกิน 30 เปอร์เซ็นต์ ของจำนวนแคลอรี่ที่ร่างกายได้รับต่อวัน

4.อาหารที่มีโปรตีนต่ำ

เหมาะสำหรับคนที่เป็นโรคตับหรือไตเรื้อรัง หรือคนที่ร่างกายไม่สามารถเผาผลาญกรดอะมิโนได้ อาหารโปรตีนต่ำ จะช่วยลดการสูญเสียโปรตีนในเนื้อเยื่อร่างกาย ทำให้เนื้อเยื่อถูกทำลายน้อยลง

5.อาหารที่มีเส้นใยสูง

อาหารที่มีเส้นใยสูง จะผ่านลำไส้ไปอย่างรวดเร็ว ดังนั้นจึงช่วยป้องกันโรคท้องผูก ถ้าคุณมีถุงที่ผนังลำไส้ใหญ่ อาหารเส้นใยจะช่วยลดโอกาสการติดเชื้อที่ผนังลำไส้ ช่วยบรรเทาอาการเจ็บปวดหรือระคายเคืองกระเพาะอาหาร และที่ดีกว่านั้นคือ อาหารเส้นใยจะช่วยลดระดับคอเลสเตอรอลในเลือด

6.อาหารที่มีโปตัสเซียมสูง

สามารถใช้ทดแทนการสูญเสียโปตัสเซียม ที่มีสาเหตุมาจากการใช้ยาขับปัสสาวะ ทำให้ขับปัสสาวะบ่อยมากขึ้น และโปแตสเซียมถูกขับออกมาพร้อมกับปัสสาวะ หลักฐานบางประการแสดงให้เห็นว่า อาหารที่มีโปแตสเซียมสูง สามารถทำให้ความดันเลือดลดลงได้เล็กน้อย

7.อาหารที่มีแคลเซียมสูง

ผลิตภัณฑ์จากนมไขมันต่ำและผักที่มีแคลเซียมสูง เช่น ผักใบเขียว จะช่วยปกป้องความหนาแน่นของกระดูกที่สูญเสียไปตามอายุ ช่วยลดความดันเลือดและมะเร็งลำไส้ใหญ่ เนื้อปลา เช่น ปลาแซลมอนกระป๋อง ซึ่งกระดูกอ่อนสามารถกินได้ จัดเป็นแหล่งแคลเซียมที่ดี

ซึ่งแหล่งอาหารแคลเซียมที่ช่วยเสริมสร้างกระดูก ได้แก่ ถั่วเหลือง ซึ่งมีสารที่มีคุณสมบัติคล้ายฮอร์โมนเพศหญิง และผลไม้ที่มีแร่ธาตุโบรอนด้วย

การวิจัยของศูนย์วิจัยโภชนาการมนุษย์แห่งสหรัฐอเมริกา Grand Fox รัฐ North Dakota พบว่าโบรอน มีบทบาทสำคัญในการช่วยป้องกันการสูญเสียเกลือแร่ต่าง ๆ เช่น แคลเซียมในกระดูก และศูนย์วิจัยยังพบอีกว่า การกินแอปเปิ้ลหรือองุ่นแห้ง 2-3 ออน หรือ น้ำองุ่น 1 แก้วต่อวัน สามารถป้องกันการสูญเสียแคลเซียมในกระดูกได้

 อ้างอิง : นพ.ชุมศักดิ์ พฤกษาพงษ์.คู่มือโภชนาการ(หน้า 268-269).สำนักพิมพ์ใกล้หมอ.2547

แนะนำ : เกร็ดความรู้สั้น ๆ พร้อมข้อคิด : 8 วิธีเริ่มต้นลดความอ้วนแบบธรรมชาติ Ep.40
แนะนำ : เกร็ดความรู้สั้น ๆ ผักและสมุนไพร : โรคโลหิตจาง ควรกินอะไรดี? Ep.41
แนะนำ : เกร็ดความรู้สั้น ๆ พร้อมข้อคิด : ไทรอยด์เป็นพิษ ห้ามกินอะไร Ep.42

เรื่องที่เกี่ยวข้อง