วันจันทร์, 7 ตุลาคม 2567

เกร็ดความรู้เรื่องสุขภาพ เกี่ยวกับการป้องกันการปวดหลังส่วนล่าง Ep.9

หมอนรองกระดูกสันหลัง เป็นส่วนที่ทำให้กระดูกแต่ละข้อเชื่อมต่อไป พร้อมๆ กับการมีอิสระในการเคลื่อนไหว

โดยโครงสร้างของหมอนรองกระดูก จะประกอบด้วยส่วนนิวเคลียสตรงกลาง มีลักษณะยืดหยุ่นคล้ายฟองน้ำ และมีเปลือกนอกที่มีความหนาและเหนียวมาก

เมื่อเริ่มมีการเสื่อมของหมอนรองกระดูกสันหลังในระยะแรก น้ำในหมอนรองกระดูกเริ่มลดลง อาจส่งผลให้เปลือกหุ้มหมอนรองกระดูกเกิดการฉีกขาด ทำให้ปวดหลังและสามารถนำไปสู่การปวดหลังเรื้อรังได้

อ้างจากเปลือกหุ้มหมอนรองกระดูกเมื่อฉีดขาดแล้ว จะสมานตัวได้ยากประกอบกับเส้นประสาทบริเวณรอบๆ หมอนรองกระดูก มีความไวต่อความเจ็บปวด ทำให้เมื่อไรก็ตามที่เปลือกหุ้มหมอนรองกระดูกฉีกขาด เส้นประสาทจากด้านหลังซึ่งมีความไวอยู่แล้วก็จะผ่านรอยฉีกขาดเข้าไปสัมผัสกับด้านในของหมอนรองกระดูก ซึ่งมีความเป็นกรดสูงมาก ทำให้เกิดอาการปวดหลัง ปัญหานี้พบได้บ่อยในผู้ที่มีอายุประมาณ 30 ถึง 50 ปี

นอกจากอาการปวดที่เกิดจากเปลือกหุ้มหมอนรองกระดูกฉีกขาดแล้ว ยังมีกรณีปวดจากหมอนรองกระดูกกดทับ หรือระคายเคืองต่อเส้นประสาท ผู้ป่วยจะมีอาการปวดร้าวชาลงขา อาจมีอาการขาอ่อนแรงร่วมด้วย ทำให้เดินหรือเคลื่อนไหวไม่ได้มาก

การรักษาอาการปวดหลังส่วนล่าง

นอกจากใช้ยา กายภาพบำบัดและการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่ส่งผลต่อหมอนรองกระดูกแล้ว ยังมีการรักษาด้วยวิธีจี้ด้วยขดลวดความร้อน การจี้ด้วยคลื่นวิทยุ เพื่อลดความดันและความเป็นกรดภายในหมอนรองกระดูก อาการปวดตึงจะลดลง

ข้อดีของการจี้ด้วยคลื่นวิทยุคือ เป็นการทำเฉพาะจุด ประกอบกับความร้อนที่ใช้ไม่สูงมาก ซึ่งไม่ทำลายเนื้อเยื่อบริเวณกว้าง ช่วยให้การฟื้นตัวหลังการรักษาเร็วขึ้น

สำหรับการรักษาด้วยการใส่หมอนรองกระดูกเทียม ในกรณีที่เป็นหมอนรองกระดูกส่วนล่างบริเวณเอว แพทย์จะไม่แนะนำ เนื่องจากมีผลข้างเคียงจากการผ่าตัดค่อนข้างมาก

ส่วนการรักษาด้วยวิธีการผ่าตัดในรูปแบบต่าง ๆ แพทย์จะเลือกใช้ในกรณีที่จำเป็นเท่านั้น

นอกจากนี้ การที่หมอนรองกระดูกเสื่อม ทำให้หมอนรองกระดูกแคบลง ส่งผลให้ข้อต่อหลวมเกิดอาการปวดหลังได้

ในกรณีข้อต่อหลวม การรักษาวิธีจี้ด้วยคลื่นวิทยุจะไม่ได้ผล เพราะเกิดจากข้อต่อที่โยกมีการเคลื่อนไหวมากผิดปกติ ซึ่งนอกจากจะทำให้ปวดหลังแล้ว ยังมีความเสี่ยงที่จะกดทับเส้นประสาทได้ง่ายอีกด้วย

การรักษาในกรณีที่ข้อต่อหลวมแล้วกดทับเส้นประสาท อาจต้องใช้วิธีเชื่อมกระดูก แต่ถ้าข้อต่อหลวมและปวดหลังเพียงอย่างเดียวไม่ได้กดทับเส้นประสาท จะมีอาการปวดร้าวชาลงขา แพทย์อาจพิจารณารักษาด้วยวิธีอื่นก่อน หลังการรักษาด้วยวิธีเชื่อมกระดูก

ผู้ป่วยต้องระวังไม่ให้หลังทำงานมากจนเกินไป ต้องใช้เวลาประมาณ 3 เดือน เพื่อให้กระดูกสมานตัวแข็งแรงดี จากนั้นจึงจะสามารถใช้งานหลังได้เต็มที่ตามปกติ

แนะนำ : เกร็ดความรู้สั้น ๆ พร้อมข้อคิด เกี่ยวกับข้าวโอ๊ต สำหรับมื้อเช้า Ep.31
แนะนำ : เกร็ดความรู้สั้น ๆ พร้อมข้อคิด เกี่ยวกับรูปร่างของคุณเสี่ยงต่อโรคอะไรบ้าง Ep.32
แนะนำ : เกร็ดความรู้สั้น ๆ พร้อมข้อคิด เกี่ยวกับวิธีแก้โรคเบื่ออาหารในครอบครัว Ep.33

สังเกตอาการปวดหลังร่วมกับอาการอื่น ๆ

หากมีอาการปวดหลัง ควรต้องสังเกตตัวเองด้วย ว่ามีอาการอื่นร่วมด้วยหรือไม่ เช่น มีไข้ เบื่ออาหาร น้ำหนักลด หรือหากเป็นอาการปวดหลังที่ไม่สัมพันธ์กับการเคลื่อนไหว ต้องระวังให้มาก เพราะอาการปวดหลังที่เกิดขึ้น อาจไม่เกี่ยวข้องกับกระดูกและกล้ามเนื้อ ควรไปพบแพทย์ เพื่อหาสาเหตุส่วนอากาปวดหลัง ที่เกี่ยวข้องกับการเคลื่อนไหว

ถ้ามีอาการปวดร้าวชาลงขา มีอาการอ่อนแรงหรือกลั้นปัสสาวะไม่อยู่ แสดงว่ามีการกดทับเส้นประสาทต้องมาพบแพทย์โดยด่วน

เทคนิคการป้องกันการปวดหลัง

• ควบคุมน้ำหนักตัวให้เหมาะสม ไม่อ้วน

• หลีกเลี่ยงการยกของที่มีน้ำหนักมากเกินไป

• หลีกเลี่ยงท่าทางที่เสี่ยงทำให้กระดูกและหมอนรองกระดูกบาดเจ็บ เช่น การก้มตัวแล้วเอี้ยวหรือบิดลำตัว

• เวลายกของจากพื้นควรใช้วิธีย่อเข่า โดยให้ตัวอยู่ชิดกับของมากที่สุด เวลายกของให้ออกแรงที่ขามากกว่าใช้หลังยก

• ไม่อยู่ในท่าใดท่าหนึ่งนาน ๆ เช่น นั่งทำงานนาน ๆ ก้มตัวนาน ๆ ควรเปลี่ยนอิริยาบถบ้างอย่างน้อยทุก 1 ชั่วโมง เพื่อให้เลือดไหลเวียนไปเลี้ยงบริเวณหมอนรองกระดูกและข้อต่อต่าง ๆ ได้ดีขึ้น การนั่งหรือก้มตัวนาน ๆ จะทำให้หมอนรองกระดูกเสื่อมเร็วขึ้น

• ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ เพื่อให้กล้ามเนื้อบริเวณลำตัวแข็งแรงและยืดหยุ่นดี โดยเฉพาะการว่ายน้ำ เพราะช่วยเพิ่มความแข็งแรงของกล้ามเนื้อท้อง และกล้ามเนื้อหลังได้มาก แต่มีกีฬาบางชนิดที่ไม่แนะนำ เช่น ยิมนาสติก เพราะเป็นกีฬาที่ต้องเอี้ยวตัวมาก การยกน้ำหนัก และกีฬาที่ต้องมีการบิดหรือเบี้ยวตัวมากๆ เหล่านี้ส่งผลต่อกระดูกสันหลังได้ง่าย

• ยืดเหยียดร่างกายหลังตื่นนอนตอนเช้า เพื่อยืดหยุ่นข้อต่อเส้นเอ็นและกล้ามเนื้อหลัง ช่วยให้ไม่บาดเจ็บง่าย ท่าที่แนะนำเล่นคือ ท่าดึงเข่าชิดอก ทำได้โดยเริ่มจากท่านอนหงาย ให้ใช้มือทั้งสองข้างจับที่ข้อพับบริเวณเข่า แล้วดึงเขาให้เข้ามาชิดหน้าอกให้มากที่สุด โดยให้ขาอีกข้างวางราบกับพื้นเหมือนเดิม ทำค้างไว้ประมาณ 30 วินาที แล้วสลับข้างทำซ้ำประมาณข้างละ 2-3 ครั้ง

ที่มา : Health Today.June.2015

แนะนำ : เกร็ดความรู้สั้น ๆ พร้อมข้อคิด กินอย่างไรให้สุขภาพดี Ep.34
แนะนำ : เกร็ดความรู้เรื่องสุขภาพ : วิธีการดูแลอาการเข่าเสื่อมอย่างถูกวิธี Ep.35
แนะนำ : เกร็ดความรู้เรื่องสมุนไพรไทย : แก้อาการท้องอืด ท้องเฟ้อ จุกเสียด ช่วยขับลม Ep.36

เรื่องที่เกี่ยวข้อง