วันอังคาร, 8 ตุลาคม 2567

ปัญหาเรื่องส้วม 5 ข้อต้องรู้

ไม่ว่าจะเป็นส้วมเต็มเพราะราดไม่ลง ส้วมตัน ก็เป็นปัญหาด้วยกันทั้งสิ้น ถือว่าเป็นเรื่องใหญ่ของบ้านกันเลยทีเดียว เพราะเราต้องขับถ่ายทุกวัน วันละหลายเวลา ดังนั้นก่อนการก่อสร้าง ทั้งช่างและเจ้าของบ้านควรตรวจเช็คการลงมือก่อสร้างให้ครบถ้วน เพราะการแก้ไขส้วมจัดได้ว่าเป็นปัญหาโลกแตกเอามาก ๆ เพราะแก้ได้ แต่แก้ยากนั่นเอง

 

 

ปัญหาเรื่องส้วม 5 ข้อต้องรู้

1.ปัญหาเรื่องส้วม (ปัญหายอดฮิตของบ้านเรา)

ปัญหาเรื่องส้วม เป็นปัญหายอดฮิตของบ้านเรา ส่วนใหญ่ปัญหาที่เกิด มักจะเป็นเรื่องการราดส้วมไม่ลง, กลิ่นเหม็น, ส้วมเต็มบ่อยมาก ซึ่งบางบ้านแก้ไขครั้งเดียวก็เสร็จเรียบร้อย บางแห่งแก้ไขกว่า 10 ครั้งก็ยังไม่หาย ปัญหาดังกล่าวอาจจะสรุปหาเหตุหลัก ๆ ได้ดังนี้ :

1.1. โถส้วมอยู่ระดับต่ํากว่าบ่อเกรอะ ทําให้ระยะลาดของท่อส้วมไปถึงบ่อเกรอะน้อยมาก โอกาสที่น้ำจะไหลย้อนกลับมามีมาก

1.2. ท่อส้วมแตกและอาจไปฝัง (หรือเกือบฝังอยู่ในดิน) ทําให้เกิดกลิ่นเหม็นและราดล้วมไม่ลง หรือบางครั้งราดลง บางครั้งราดไม่ลง

1.3. ลืมใส่ท่ออากาศให้สวมหายใจ เวลาราดน้ำจะราดไม่ลง เพราะน้ำที่ราดไม่สามารถเข้าไปแทนที่อากาศได้

1.4. หากเป็นระบบบ่อซึม ที่วางไว้ในดินที่มีความชุ่มชื้นมาก แทนที่น้ำจากบ่อเกรอะ บ่อซึม จะซึมไหลออก กลับกลายเป็นน้ำซึมเข้า ปัญหาที่ตามมาคือส้วมเต็มบ่อย และราดน้ำไม่ลง

1.5. ขนาดบ่อเกรอะและบ่อซึมเล็กเกินไป (ในการก่อสร้างผู้ออกแบบจะกําหนดขนาดของบ่อเกรอะบ่อซึมไว้ ให้มีขนาดเหมาะสมกับจํานวนคนที่ใช้ส้วม หากใช้อาคารผิดประเภท หรือผู้รับเหมาทําผิดขนาด ขนาดของบ่อเกรอะ บ่อซึมโตไม่พอ ก็จะทําให้เต็มง่ายและเต็มเร็วเพราะช่องว่างน้อย น้ำซึมออกไม่ทัน)

1.6. มีสิ่งของที่ไม่น่าจะใส่ลงไปในโถส้วมเข้าไปอยู่ เช่น ผ้าอนามัย ถุงยางอนามัย เป็นต้น ซึ่งสิ่งเหล่านี้จะไม่ยอมสลายและอุดตัน

1.7. ผู้ที่ใช้บ่อเกรอะที่ใช้เครื่องกลช่วยการย่อยสลาย ซึ่งโฆษณาว่าเป็นถังล้วมไม่มีวันเต็ม แต่เดี๋ยวก็เต็ม เดี๋ยวก็เต็ม น่าจะลองตรวจเช็คดูด้วยว่า คุณเสียบปลั้กไฟฟ้าให้เครื่องจักรมันทํางานหรือเปล่า !!

 

สาเหตุดังกล่าวข้างต้น คุณอาจจะลองตรวจเช็คด้วยตนเองได้ แต่หากส้วมของคุณยังมีปัญหาอยู่ คงต้องปรึกษาผู้เชี่ยวชาญด้านนี้โดยตรง

 

2.ควรเลือกโถส้วมก่อนการสร้างบ้าน

ไม่เชื่อก็ต้องเชื่อ ว่าเรื่องที่ว่านี้เป็นเรื่องจริง เพราะสุขภัณฑ์ในบ้านเรา นอกจากต่างยี่ห้อกันแล้ว จุดหรือระยะการวางท่อเข้าสู่สุขภัณฑ์ก็แตกต่างกันออกไปด้วย จึงขอแนะนําว่า คุณน่าจะเลือกยี่ห้อสุขภัณฑ์ (รุ่นเอาไว้ที่หลังได้) เสียก่อน ที่เขาจะเทพื้นคอนกรีต เพื่อผู้ก่อสร้างจะได้เตรียมวางท่อไว้ให้ถูกจุด บ้านคุณจะได้ไม่มีปัญหาเรื่องรั่วซึมจากห้องน้ำ หรือปัญหาสุขภัณฑ์ใช้ไม่ได้

 

3.ซื้อสุขภัณฑ์ (Fixture) แล้วอย่าลืมเลือกอุปกรณ์ (Fitting) ด้วย

เครื่องสุขภัณฑ์ต่าง ๆ (Sanitary Fixture) โดยตัวมันเองแล้ว ไม่สามารถจะใช้งานได้โดยทันที จําเป็นที่จะต้องมีอุปกรณ์ (Fiting) ประกอบด้วย เช่น อ่างล้างหน้าจะต้องมีก๊อกน้ำและรูน้ำทิ้ง อ่างอาบน้ำจะต้องมีสะดืออ่าง (รูระบาย) และก๊อกน้ำ เป็นต้น

 

ในการเลือกสุขภัณฑ์ จําเป็นที่จะต้องเลือกอุปกรณ์ควบไปด้วย อย่าผลัดวันประกันพรุ่ง เนื่องจากอุปกรณ์ที่คุณเลือก อาจจะใส่ไม่ได้กับสุขภัณฑ์ที่คุณเลือก อาจจะเพราะมีขนาดไม่เท่ากัน ลักษณะของเกลียวตัวผู้ตัวเมียต่างกัน ปัญหานี้ก็เหมือนกับการซื้อรถยนต์กับซื้อยางรถยนต์ ซึ่งจะต้องพิจารณาเลือกให้เข้ากันให้ได้

 

4.โถฉี่ระวังอย่าตั้งใกล้โถส้วม

โถฉี่ (urinal) คงไม่ต้องอธิบายว่าคืออะไร เพียงแต่ขอให้ระวังนิดนึงว่า อย่าเอาไปตั้งติดกับโถส้วมหรืออยู่ข้างหน้าโถส้วมในระยะกระชั้นชิดนัก เพราะไม่เช่นนั้นเวลานั่งบนโถส้วมแล้ว จะมีกลิ่นฉุนลอยอยู่ระดับจมูก !! ตลอดเวลา

 

5.บริเวณใต้อ่างอาบน้ํา ต้องขัดมันไว้เสมอ

ในการก่อสร้างห้องน้ำทั้งหลาย สิ่งที่เรากลัวที่สุดก็คือการรั่วซึมของห้องน้ำ จากชั้นบนลงสู่ชั้นล่าง หากเกิดปัญหาขึ้นแล้วจะทําการแก้ไขให้หยุดชะงัก 100% เป็นเรื่องที่ยาก แต่หากพื้นที่ที่เกิดการรั่วซึมนั้นมองเห็นได้ด้วยตาสัมผัสได้ด้วยมือ โดยยังไม่ต้องมีการทุบรื้ออุปกรณ์ภายในห้องน้ำก็ยังพอทน (ไหว) ถ้าเป็นจุดที่ต้องคาดเดาเอา ก็เป็นเรื่องที่ยุ่งยากเยิ่นเย้อทีเดียว โดยเฉพาะอย่างยิ่งการรั่วซึมจากบริเวณใต้อ่างอาบน้ำ ดังนั้นเพื่อเป็นการป้องกันปัญหาใหญ่ตั้งแต่แรก ขอแนะนําให้จัดเตรียมพื้นบริเวณใต้อ่างอาบน้ำ ให้ลาดเอียงสู่ท่อระบายน้ำ (Floor Drain) และฉาบปูนขัดมันกันซึมเสียก่อน เพื่อแน่ใจว่าหากมีการรั่วซึมจากอ่างอาบน้ำ น้ำจะไม่รั่วไปสู่ห้องข้างล่างได้ (ง่าย ๆ)

 

Source : ร้อยพันปัญหาในงานก่อสร้าง โดย : สมาคมสถาปนิกสยาม ในพระบรมราชูปถัมภ์