1.เหลือน้ำในถังไว้ดับไฟ (ป้องกันเหตุไฟไหม้ฉุกเฉิน)
อาคารที่มีถังน้ำอยู่บนหลังคา และออกแบบให้ใช้น้ำในถังนั้น สําหรับช่วยดับไฟด้วย กรุณาอย่าลืมใส่อุปกรณ์พิเศษ (Limit Switch) สําหรับเก็บกักน้ำบางส่วนในถังไว้ด้วยเสมอ เพราะบางครั้งท่านอาจใช้น้ำเพื่ออุปโภค-บริโภคจนเพลินไปหน่อย เวลาเกิดอัคคีภัย จะเอาน้ำจากถังมาตับไฟ ปรากฏว่าไม่มีน้ำในถังเหลือเลย หรือเหลือไม่พอดับไฟได้
2.ให้ความสำคัญกับ Overflow
Overflow คือทางที่ให้น้ำออกหากมีน้ำเต็ม น้ำไหลออกทางอื่นไม่ทัน ทางออกช่องอื่นอุดตัน อุปกรณ์ที่ใช้หยุดน้ำไม่ทํางาน เช่น ในบ่อเก็บน้ำ หากลูกลอยไม่ทํางาน ก็จะไม่มีทางให้น้ำระบายออกได้ หรือพื้นดาดฟ้าที่น้ำน่าจะไหลลงท่อน้ำฝน แต่เหตุบังเอิญให้ท่อน้ำฝนอุดตัน ก็จะต้องระบายผ่าน Overflow ที่เป็นช่องเจาะไว้ริมกําแพง เพื่อที่น้ำจะไม่ท่วมเข้าบ้านหรือห้องน้ำ หากท่อระบายอุดตัน ดังนั้นหากมีน้ำท่วมในห้องจะให้น้ำไหลไปที่ไหนแทนการเข้าห้องนอน เป็นต้น
3.อย่าทําถังน้ำใต้ดินเด็ดขาด
หากไม่มีความจําเป็นจริงๆ (ความจําเป็นในที่นี้ หมายถึงท่านไม่มีที่ดินเพียงพอ ที่จะวางถังน้ำบนดิน) ขอแนะนําว่า อย่าวางถังเก็บน้ำใต้ดิน เพราะเวลาถังน้ำหรือท่อน้ำแตก ทํานจะไม่มีทางรู้เลยจนกว่าบิลค่าน้ำจะมาถึง (ถังน้ำจะต้องมีท่อระบายน้ำล้นใต้ดิน เวลาน้ำล้น ก็จะไหลลงสู่ท่อระบายน้ำโดยตรง) การแตกของถังน้ำหรือการหักของท่อน้ำ อาจเกิดจากสาเหตุได้หลายประการ เช่น โครงสร้างของถังน้ำ โดยส่วนใหญ่มักจะแยกออกจากตัวอาคาร และโครงสร้างของถังน้ำมักจะใช้เข็มสั้นกว่าตัวอาคาร การทรุดตัวจะไม่เท่ากัน ทําให้เกิดการฉีกขาด หักทําลายได้ หรือหากมีการก่อสร้างบริเวณใกล้เคียงที่สร้างความสั่นสะเทือนหรือเกิดการไหล (หรืออัด) ของดิน ถังน้ำของท่านก็จะวิบัติได้โดยง่าย
4.ฝังท่อระบายน้ำฝนในเสา หรือในช่องท่อต้องระวังอะไรบ้าง
โดยทั่วไปวิศวกรสุขาภิบาล มักไม่ค่อยชอบให้เอาท่อน้ำทั้งหลายไปฝังอยู่ในเสา หรืออยู่ในช่องท่อที่ปิดหมดทุกด้าน (Closed Duct) เพราะเมื่อเกิดปัญหาจะแก้ไขไม่ได้ แต่สถาปนิกส่วนใหญ่มักจะเห็นว่าท่อเหล่านี้เป็นสิ่งที่ไม่น่าดู และน่าจะเก็บเอาไว้ในที่มิตซิต ซึ่งหากจําเป็นเช่นนั้นจริง ๆ ขอแนะนําว่า
4.1. วัสดุที่ใช้ทําท่อต้องดีจริง ๆ
4.2. การติดตั้งต้องได้แนวได้ดิ่งจริง ๆ ก่อนการเทคอนกรีตหรือก่อนปิดช่องท่อ ต้องตรวจดูให้แน่ชัดว่าท่อเหล่านั้นโดนยึดติดอย่างมั่นคงแข็งแรง ไม่ว่าน้ำฝนจะแรงจนท่อลั่น หรือการเทคอนกรีต (การจี้คอนกรีต) จะรุนแรงเพียงไร การยึดติดท่อจะต้องมีประสิทธิภาพเสมอ
4.3. หากเป็นช่องท่อ (Duct) น่าจะจัดเตรียมทางน้ำล้นออก (Overflow) เอาไว้เป็นระยะ ๆ เพื่อป้องกันปัญหาที่ท่ออาจผุหรือแตกภายหลังและมีน้ำไหลออกมา (และไม่มีทางไป)
4.4. อย่าเดินท่อน้ำไปปนกับท่อไฟเด็ดขาด
4.5. ทางที่ดีอย่าเอาไปฝังในเสา หรือในช่องท่อที่โดนปิดตาย
5.ถังเก็บน้ำเลือกซื้อย่างไรให้เหมาะสม
ต้องถามก่อนว่าบ้านคุณมีคนกี่คน คนหนึ่งคนจะใช้น้ำประมาณ 200 ลิตรต่อวัน หากบ้านคุณมี 5 คน และต้องการเก็บน้ำไว้เพื่อใช้สัก 3 วัน ก็คํานวณได้ว่า ถังน้ำจะมีขนาด = จํานวนคน x 200 ลิตร x 3 วัน / = 5 x 200 x 3 = 3,000 ลิตร = 3 ลบ.ม. ทั้งนี้ไม่รวมน้ำที่ใช้รดต้นไม้ และสวนขนาดใหญ่ (สวนเล็ก ๆ และต้นไม้ไม่มากไม่เป็นไร เพราะเผื่อไว้แล้ว)
Source : ร้อยพันปัญหาในงานก่อสร้าง โดย : สมาคมสถาปนิกสยาม ในพระบรมราชูปถัมภ์