วันอังคาร, 8 ตุลาคม 2567

12 สมุนไพรในครัว จาก “สมุนไพรธรรมดา” สู่คำว่า “ยาสมุนไพร” Ep.57

จริง ๆ แล้วคนไทยเราก็รับประทานยาสมุนไพรกันทุกวัน ยิ่งหากครัวบ้านไหนชอบทำอาหารกินเองโดยมีเครื่องเทศที่จะพูดถึงทั้ง 12 รายการนี้อยู่ในเมนูอาหารด้วยแล้ว ก็ยิ่งเป็นการตอกย้ำว่า คุณได้รับประทานพืชสมุนไพร โดยรับยาสมุนไพรบำรุงร่างกายในทุกมื้อแบบสบายตัวกันเลย ในที่นี้เรายกมาเพียง 12 รายการเท่านั้น ซึ่งจริง ๆ มีอีกหลายร้อยรายการที่ให้คุณค่าและเป็นสมุนไพรชั้นดีคู่ครัวไทยมาช้านานด้วยเช่นกัน

 

 

1.กระชาย

“กระชาย” มีน้ำมันหอมระเหยซึ่งเป็นสารที่มีสรรพคุณช่วยบรรเทาอาการปวดเมื่อยตามร่างกาย แก้ลม วิงเวียน ลดอาการอ่อนเพลีย ปวดมวนในท้อง จุกเสียดแน่นท้อง ช่วยขับปัสสวะ บำรุงหัวใจ รักษาโรคผิวหนัง กลาก เกลื้อน และ งูสวัด

 

2.ข่า

“ข่า” ประกอยด้วยวิตามินบี 1 บี 2 วิตามินซี แคลเซียม ฟอสฟอรัส เหล็ก และสารเบต้าแคโรทีน ซึ่งมีส่วนช่วยในการป้องกันโรคมะเร็ง อีกทั้งยังช่วยให้เจริญอาหาร แก้อาการท้องอืด ท้อเฟ้อ จุกเสียด แน่นท้อง ขับเสมหะ ซึ่งหากนำมาตำให้ละเอียดแล้วทาบริเวณแขนขาที่มีอาการของโรคผิวหนัง กลาก เกลื้อน ก็จะช่วยให้หายได้เช่นกัน นอกจากนี้ ข่า ยังมีสรรพคุณแก้อาการหลอดลมอักเสบ ลดอาการเกร็งของกล้ามเนื้อเรียบ และสามารถต้านทานเชื้อวัณโรคได้อีกด้วย

 

3.ขิง

ขิงช่วยขับเหงื่อ บรรเทาอาการไอ ขับเสมหะ รักษาโรคหวัด อาการตัวร้อนเป็นไข้ โดยมีวิธีการคือ ฝนขิงกับน้ำมะนาว ผสมเกลือเล็กน้อยใช้กวาดคอ อาการไอและเสมหะจะบรรเทาลง “ขิง” ยังช่วยแก้อาการวิงเวียน อาเจียน คลื่นไส้ เมารถ เมาเรือ บรรเทาอาการท้องอืด ท้องเฟ้อ จุกเสียด ช่วยขับลม ขับปัสสาวะ ทำให้สบายท้อง อักทั้งยังช่วยกระตุ้นการบีบตัวของกระเพาะอาหารและลำไส้ รักษาแผลในกระเพาะอาหารและลำไส้ ใช้เป็นยาระบายและขับพยาธิได้อีกด้วย

 

4.ขมิ้นชัน

“ขมิ้นชัน” เป็นสมุนไพรที่มีสรรพคุณในการรักษาโรคได้หลายชนิด อาทิ แก้อาการจุกเสียด แน่นท้อง ท้องอืด ท้องเฟ้อ  ลดไขมันในเส้นเลือด ขับปัสสาวะ อักทั้งยังสามารถนำมาเข้ายาใช้รักษาอาการของโรคผิวหนัง เช่น ผื่นคัน ผิวหนังพุพอง โรคกลาก เกลื้อน ชันนะตุ รวมทั้งแผลเรื้อรังบนผิวหนังได้อีกด้วย

 

5.กระเพรา

เป็นผักที่มีกลิ่นฉุน รสร้อนแรงช่วยลดอาการอึดอัด แน่นท้อง ท้องอืด ท้องเฟ้อ จุกเสียด โดยใช้ใบกระเพราชงกับน้ำร้อนแล้วดื่ม จะช่วยบรรเทาอาการต่างๆ เหล่านั้นได้ สารอาหารที่มีอยู่ในกระเพรา ได้แก่ แคลเซียม ฟอสฟอรัส และเบต้าแคโรทีน ซึ่งซึ่งนอกจากจะช่วยป้องกันโรคมะเร็งและโรคหัวใจขาดเลือดได้แล้ว ยังมีส่วนช่วยบำรุงกระดูกและฟันให้แข็งแรงและเพิ่มปริมาณน้ำนมแม่ในสตรีหลังคลอดบุตรใหม่ๆได้อีกด้วย

 

6.มะนาว

ใน “น้ำมะนาว” อุดมไปด้วยกรดซิตริก และวิตามินซีสูงกว่าส้มถึง 2 เท่าแม้แต่ “เปลือกมะนาว” ก็ยังมีน้ำมันหอมระเหยที่มีคุณสมบัติในการทำลายเชื้อแบคทีเรียได้อย่างดี ทั้งนี้สำหรับผู้ป่วยที่เป็นไข้หวัดและมีอาการเจ็บคอ สามารถรักษาได้ง่ายๆ ด้วยการชงน้ำมะนาวอุ่นๆ ดื่มโดยใช้สูตรน้ำมะนาวผสมน้ำผึ้ง เติมน้ำอุ่นและเกลือเล็กน้อย อาการเจ็บคอ เป็นไข้ตัวร้อน และอาการไอก็จะหายไป

ความเป็นกรดของ “น้ำมะนาว” ยังสามารถนำมาใช้รักษาแผลที่เกิดจากปูนซีเมนต์กัดได้อีกด้วย โดยบีบมะนาวลงบนแผลวันละ 2-3 ครั้ง หรือจะป้องกันไว้ก่อนโดยใช้น้ำมะนาวล้างคราบปูนที่เกาะอยู่ก็ได้ นอกจากนี้น้ำมะนาวยังช่วยรักษาอาการเลือดออกตามไรฟัน เนื่องจากมีวิตามินซีและบีสูงกว่าส้มถึง 2 เท่า อีกทั้งตำราแพทย์แผนโบราณ มักใช้มะนาวในการรักษาโรคทางเดินหายใจใช้เป็นยาช่วยย่อย และช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการดูดซึมธาตุเหล็กในกระแสเลือดได้ดีที่สุด รองลงมาคือน้ำส้มและน้ำฝรั่ง นอกจากนี้ “น้ำมันจากเปลือกมะนาว” ยังมีประโยชน์ในการฆ่าเชื้อแบคทีเรียได้อีกด้วย แต่มีข้อควรระวังคือ ห้ามใช้มะนาวในผู้ป่วยโรคไขข้อ เพราะน้ำมะนาวมีกรดสูง เมื่อรับประทานเข้าไปแล้วจะส่งผลกระทบทำให้อาการปวดข้อ ข้อเข่าอักเสบ โรครูมาตอยด์ต่างๆ เกิดอาการกำเริบขึ้นได้

 

7.สะระแหน่

สะระแหน่ มีสารอาหารที่สำคัญอยู่หลายชนิด ได้แก่ เบต้าแคโรทีน ซึ่งเป็นสารตั้งต้นของวิตามินเอที่ช่วยต้านอนุมูลอิสระที่ทำให้เกิดมะเร็ง สะระแหน่ช่วยขับลม ทำให้สบายท้อง เวลารับประทานอาหารมากๆ ท้องจะไม่อืด เนื่องจากสะระแหน่มีกลิ่นหอมเย็นของเมนทอล จึงช่วยให้คนที่รับประทานสะระแหน่รู้สึกสดชื่น ขึ้นมีความคิดที่จะนำใส แก้ปวดหัว ได้ดีและระบบทางเดินหายใจปลอดโปร่ง ส่วนวิตามินซีในสาระแหน่ก็สามารถช่วยให้เหงือกแข็งแรงและไม่เป็นหวัดได้

 

8.หอมหัวใหญ่

เป็นพืชตระกูลเดียวกับกระเทียม มีคุณสมบัติช่วยลดคอเลสเตอรอล และลดระดับน้ำตาลในเลือด ช่วยเพิ่ม  HDL (High Density Lipoprotein Cholesterol) ซึ่งเป็นตัวไขมันที่ดี นอกจากนี้ “หอมหัวใหญ่”ยังช่วยบำบัดโรคได้หลายชนิด เช่น โรคโลหิตจาง หลอดลมอักเสบ หืดไขข้ออักเสบ และชราก่อนวัยอันควร ซึ่งหากหรอกนั่งประทานหัวหอมใหญ่สดๆ ครึ่งหัวเป็นประจำทุกวันติดต่อกันอย่างน้อย 1 ถึง 2 เดือน อาการของโรคต่างๆดังกล่าวก็จะดีขึ้นอย่างเห็นได้ชัด

 

9.โหระพา

เป็นผักที่นิยมนำมาใช้ประกอบอาหารเพื่อไปแต่งกลิ่น รสทั้งยังอุดมไปด้วยสารเบต้าแคโรทีน ที่มีคุณสมบัติช่วยป้องกันโรคมะเร็งและโรคหัวใจขาดเลือดได้อย่างดี “ใบโหระพา” มีน้ำมันหอมระเหยเป็นถุงเล็กๆ อยู่ภายในซึ่งมีคุณสมบัติช่วยแก้ จุกเสียด ท้องอืด แน่นท้อง ทำให้เจริญอาหาร ช่วยในการขับเหงื่อ ขับเสมหะ รักษาอาการปวดข้อ ข้ออักเสบ รักษาโรคหนองใน และยังช่วยให้เจริญอาหารอีกด้วย

 

10.กระเทียม

กระเทียมมีสรรพคุณในการป้องกันรักษาโรคมะเร็ง โรคหัวใจ รวมไปถึงโรคติดเชื้อต่างๆ เช่น วัณโรค ไทฟอยด์ โรคปอด ลำไส้อักเสบ โรคทางเดินปัสสาวะ โรคหูด โรคพยาธิในลำไส้ ไขข้ออักเสบ และโรคเก๊าท์ นอกจากนี้ “กระเทียม” ยังมีคุณสมบัติในการเป็นยารักษาอาการอักเสบ และทำลายเชื้อแบคทีเรีย โดยไม่มีผลข้างเคียงต่อผู้ป่วย นอกจากนี้ ยังช่วยลดคอเลสเตอรอลและลดความดันโลหิตสูงได้อีกด้วย

 

11.พริกไทย

พริกไทย” ได้ชื่อว่า”ราชาแห่งเครื่องเทศ” ก็ให้กลิ่นฉุนหอมกรุ่นเพิ่มลดที่ร้อนแรงขึ้น ทั้งนี้เพราะว่าในพริกไทยอ่อนจะมีน้ำมันหอมระเหยมากกว่าในเมล็ดแห้ง ซึ่งน้ำมันหอมระเหยที่ว่านี้มีสรรพคุณในการดับกลิ่นคาว ช่วยย่อยอาหาร แก้ปวดหัว ปวดตามข้อ และแก้ท้องเสียได้อีกด้วย รวมทั้งยังมีแคลเซียมและสารเบต้าแคโรทีนสูงเช่นกัน

นอกจากนี้ “พริกไทย” ยังช่วยบรรเทาอาการนอนไม่หลับ ไอ สะอึกช่วยกระตุ้นต่อมน้ำลาย และน้ำย่อย ในการขับน้ำลายและน้ำย่อยออกมาใช้ในการย่อยอาหาร อีกทั้งยังช่วยขับลมในกระเพาะอาหาร กระตุ้นให้กล้ามเนื้อในกระเพาะลำไส้ เคลื่อนไหวสม่ำเสมอ อาหารจึงสามารถย่อยได้ง่ายนอกจากนี้ จากผลการวิจัยยังพบว่า สารฟีนอลิกส์ ในพริกไทยยังมีคุณสมบัติเป็น Antioxidant สามารถต่อต้านการเกิดมะเร็งได้อีกด้วย

 

12.หอมแดง

หอมแดง” สมุนไพรชนิดนี้นอกจากจะใช้เป็นอาหารประจำครัวไทยที่ขาดเสียไม่ได้แล้ว “หอมแดง” ยังมีสรรพคุณทางยาอยู่มากมายหลายขนานด้วยกัน อาทิ เป็นสมุนไพรรักษาอาการหวัด รักษาโรคหลอดลม บรรเทาอาการปวดศีรษะ รักษาอาการอ่อนเพลีย ปวดหัว อาการคลื่นไส้อาเจียน และอาการอึดอัดในกระเพาะอาหาร เป็นต้น

 

ที่มาและการอ้างอิง

รู้ทันโรคบริโภคสมุนไพร ผู้แต่ง อารีรัตน์