วันเสาร์, 27 กรกฎาคม 2567

11 สรรคุณของน้ำมันปลา และ 4 ข้อควรระวัง Ep.113

น้ำมันปลา คือ น้ำมันที่สกัดจากส่วนของเนื้อปลา หนัง หัว และหาง ของปลาทะเลน้ำลึกโดยเฉพาะปลาในเขตหนาว

น้ำมันปลามีอะไร?

ในน้ำมันปลา มีสารอาหารที่เรียกว่า “กรดไขมัน” ในน้ำมันปลามีกรดไขมันหลายชนิดที่สำคัญ และมีการนำมาใช้ ทางการแพทย์ คือ กรดไขมันกลุ่มโอเมก้า 3 และ โอเมก้า 6 ประกอบด้วยกรดไขมันไม่อิ่มตัวเชิงซ้อน (Polyunsaturated fatty acid = PUFA)

กรดไขมันในกลุ่มโอเมก้า 3 มีกรดที่สำคัญอยู่ 2 ชนิด คือ EPA (Eicosapentaenoic = กรด ไอ-โคซาเพนตาอีโนอิก) และ DHA (Docosahexaenoic acid = กรดโดโคซาเฮ็กซาอีโนอิก) เป็นกรดไขมันที่จำเป็นต่อร่างกาย เพราะร่างกายไม่สามารถสร้างขึ้นเองได้ ต้องได้รับจากอาหารเท่านั้น

ปัจจุบันเป็นที่ยอมรับกันแพร่หลายในวงการแพทย์ว่า น้ำมันปลา คือ หนึ่งในอาหารเสริมสุขภาพที่ให้ประโยชน์สูงสุดต่อผู้บริโภค และให้ผลดีมากในการลดไขมันในเลือด และลดระดับไตรกรีเซอไรด์ในเลือด ป้องกันโรคหัวใจ โรคความดันสูง และโรคเบาหวาน

น้ำมันปลากับน้ำมันตับปลาต่างกันยังไง?

เรารู้จัก “ น้ำมันตับปลา ” มานานแล้ว โดยใช้เป็นอาหารเสริม ซึ่งมีวิตามินที่สำคัญคือ วิตามินเอ และ ดี น้ำมันตับปลาเป็นน้ำมันที่สกัดจากตับปลาทะเลบางชนิด เช่น ปลาคอด (COD) ส่วนน้ำมันปลาไม่ใช่น้ำมันตับปลา แต่เป็นน้ำมันที่สกัดมาจากส่วนหัวหรือเนื้อปลาทะเล

ในน้ำมันปลานี้ จะอุดมไปด้วยกรดไขมันจำเป็น ซึ่งร่างกายมนุษย์ไม่สามารถสังเคราะห์ขึ้นมาเองได้ กรดไขมันจำเป็นชนิดนี้เป็นกรดไขมันประเภทไม่อิ่มตัว มีชื่อเรียกว่า “โอเมก้า 3” ซึ่งมีอยู่มากในน้ำมันปลาเป็นปริมาณมาก

11 สรรพคุณของน้ำมันปลา:

1.บรรเทาอาการโรคข้อกระดูกอักเสบ ไม่เฉพาะแคลเซียม วิตามินดี และแมกนีเซียม เท่านั้น แต่น้ำมันปลาก็ยังช่วยให้สุขภาพกระดูกดีขึ้นได้

2.ช่วยลดอาการปวดไมเกรนได้ กรดไขมันในน้ำมันปลา จะมีผลต่อการเปลี่ยนแปลงของพรอสตาแกลนดิน และลดการหลั่งสารซีโลโทนิน ทำให้การเกาะตัวของหลอดเลือดลดลง ในระยะที่มีการบีบตัวของหลอดเลือดในสมอง

3.กรดไขมันโอเมก้า 3 มีคุณสมบัติในการช่วยลดอาการอักเสบ อาการตึงแน่น และอาการข้อยึดตอนเช้า ในผู้ที่มีภาวะข้อเสื่อมและข้ออักเสบรูมาตอยด์

4.น้ำมันปลาส่งผลดีต่อการลดน้ำหนัก มีบุตรยาก และหญิงตั้งครรภ์ กระทรวงสาธารณสุขของอเมริกาอนุญาตให้ใช้น้ำมันปลาเป็นยาที่ช่วยลดไขมันชนิดไม่ดีที่เรียกว่า “ไตรกลีเซอไรด์” ได้

5.โอเมก้า 3 จะมีส่วนช่วยให้หลอดเลือดขยายตัว ทำให้ระบบการไหลเวียนของเลือดในร่างกายดีขึ้น จึงมีผลให้ความดันลดลง โดยที่น้ำมันปลาจะไม่มีผลต่อความดันในผู้ที่มีความดันโลหิตปกติ

6.ช่วยชะลอความชรา

7.รักษากล้ามเนื้อที่ไร้ไขมัน (Lean muscle) ในผู้ป่วยมะเร็ง ช่วยป้องกันการสูญเสียกล้ามเนื้อของผู้ป่วยมะเร็งที่ผ่านการทำเคมีบำบัดได้

8.ช่วยให้ผลลัพธ์ของการออกกำลังกายดีขึ้น เพราะช่วยให้ไขมันในร่างกายลดลง

9.มีส่วนช่วยลดความเสี่ยงโรคเบาหวาน โดยนักวิจัยพบว่ากรดไขมัน EPA ในน้ำมันปลา จะช่วยควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดให้ดีขึ้นได้

10.มีส่วนช่วยลดระดับไขมันไตรกลีเซอร์ไรด์ในเลือดได้ 20% – 50% ที่สำคัญ คือ ปลอดภัย ไม่มีผลข้างเคียงต่อร่างกาย สามารถใช้ร่วมกับยาในการลดระดับไขมันในผู้ที่มีไขมันในเลือดสูงได้

11.เสริมสร้างพลังให้กับสมองและความจำ ช่วยให้สมองทำงานได้ดีขึ้น

กินน้ํามันปลากับวิตามินซีได้หรือไม่?

หากคุณเป็นคนที่ไม่ชอบทานเนื้อสัตว์กับผลไม้รสเปรี้ยว การเพิ่มอาหารเสริมทั้งสองตัวนี้ ก็เป็นสิ่งที่ร่างกายควรได้รับ ซึ่งก็ไม่น่าจะมีปัญหาใดๆ และควรตรวจสอบอาหารเสริมทั้งสองตัวนี้ก่อน ว่าผลิตมาจากแหล่งที่ได้มาตรฐาน ไม่มีสารตกค้างใด ๆ 

“Fish oil” หรือ “น้ำมันปลา” ช่วยเสริมสร้างเซลล์ให้ร่างกายแข็งแรง ส่วนวิตามินซีช่วยซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอให้หายได้ไวขึ้น โดยเฉพาะแผลอักเสบ และเมื่อไหร่ก็ตาม ที่เราสามารถหาแหล่งอาหารมาได้จากธรรมชาติ ก็อาจจะช่วยประหยัดค่าใช้จ่ายส่วนนี้ไปได้

4 ข้อควรระวังของน้ำมันปลา:

1.ผู้ที่มีโรคประจำตัว ให้ปรึกษาแพทย์เจ้าของไข้ก่อนรับประทานทุกครั้ง

2.น้ำมันปลา มีคุณสมบัติต้านการจับตัวเกาะกลุ่มของเกล็ดเลือด ที่ทำให้เลือดหยุดไหล ผู้บริโภคน้ำมันปลาปริมาณมากต่อเนื่อง จึงอาจเกิดภาวะเลือดออกได้ง่าย จึงควรระวังการรับประทานน้ำมันปลา ในผู้ป่วยที่มีความเสี่ยงต่อการเกิดเลือดออกง่าย

เช่น ผู้ที่มีแผลในกระเพาะอาหาร ผู้ที่รับประทานยาที่มีผลต่อการแข็งตัวของเลือด(ยาต้านการแข็งตัวของเลือด) เช่นยา วาร์ฟาริน (Warfarin), แอสไพริน (Aspirin) และโคลพิโดเกรล (Clopidogrel) เพราะจะทำให้ความเสี่ยงในการเกิดเลือดออกเพิ่มมากขึ้น

3.หากต้องเข้ารับการผ่าตัด ควรหยุดรับประทานน้ำมันปลาก่อนการผ่าตัดอย่างน้อย 14 วัน เพราะอาจเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดภาวะเลือดไหลไม่หยุดจากแผลผ่าตัดได้

4.การรับประทานน้ำมันปลาในขนาดสูง จะเพิ่มปริมาณแคลอรีที่ได้รับต่อวัน จึงอาจส่งผลให้ระดับคอเลสเตอรอล (Cholesterol) ในเลือดเพิ่มขึ้น และอาจทำให้ระดับวิตามินอีในร่างกายลดลงได้

source : honestdocs , megawecare , oknation , livelonglife , haamor