วันเสาร์, 14 กันยายน 2567

ทำความเข้าใจ “ระดับไขมันในเลือด” ที่เหมาะสม Ep.118

การตรวจไขมันในเลือดคุณแต่ละครั้ง มีสิ่งที่ควรต้องตรวจคือ คอลเลสเตอรอล ไตรกลีเซอร์ไรด์ แอลดีแอล-คลอเลสเตอรอล เอซดีแอล-คอลเลสเตอรอล

 

 

คลอเลสเตอรอล ไตรกลีเซอร์ไรด์ แอลดีแอล-คลอเลสเตอรอล เรียกว่าไขมันเลว  ส่วน เอซดีแอล-คลอเลสเตอรอล คือไขมันดี ซึ่งช่วยร่างกาย หากผลการตรวจร่างกายของคุณมีคอลเลสเตอรอลสูงแต่ว่ามีระดับเอชดีแอล-คอลเลสเตอรอลที่สูงด้วย จะหมายถึงว่าโดยรวมแล้วไขมันของคุณไม่ได้สูงเสียทีเดียว และไม่จำเป็นต้องรับประทานยาลดไขมัน เพียงควบคุมอาหาร เช่น  งดไข่แดง กะทิ ปลาหมึก หอยนางรม และออกกำลังกาย ก็จะช่วยให้ระดับคอเลสเตอรอลกลับมาอยู่ในระดับปกติได้ และไม่ควรรับประทานยาโดยไม่จำเป็น

 

ระดับไขมันในเลือดที่เหมาะสม

ความแตกต่างระหว่าง “ค่าปกติ” กับ “ค่าเหมาะสม”

ค่าปกติคือ ค่าที่แพทย์ส่วนใหญ่ต้องการ ถ้าคุณมีคอลเลสเตอรอล 199 พอดี ถือว่าสูงเกินไป และมีโอกาสเพิ่มความเสื่อมให้กับร่างกายได้ ดังนั้น คุณไม่ควรใช้ชีวิตอยู่บนขอบของโรคชรา จึงมีค่าที่เหมาะสมจากการศึกษามาแล้ว ว่าควรจะอยู่ “น้อยกว่าค่าสูงสุดและต่ำสุด” ซึ่งจะทำให้ร่างกายของคุณอยู่ในสภาพที่ดีที่สุด  เพราะไขมันต่ำเกินไปก็ไม่ดี เนื่องจากเราต้องใช้คอลเลสเตอรอลเป็นสารตั้งต้นในการสร้างฮอร์โมนของร่างกาย ดังนั้นเราจึงควรักษาคำว่า “สายกลาง” หรือ moderation เอาไว้จะดีที่สุด ไม่มากหรือไม่น้อยจนเกินไป

 

เมื่อตรวจไขมันละเอียดแล้วทั้ง 4 ชนิดและมีไขมันในเลือดสูงจริง จะมีวิธีใดบ้างที่ควบคุมมันได้นอกจากใช้ยา สิ่งที่ช่วยคุณได้ก็คือ “วิตามินบี 3” หรือ ไนอาซิน (niacin)

 

นพ.มิลเลอร์ ผู้เชี่ยวชาญด้านเวชศาสตร์อายุรวัฒน์ ได้แนะว่าไนอาซินในปริมาณที่สูงพอ จะช่วยลดระดับคอลเลสเตอรอลและไตรกลีเซอไรด์ลงมาได้ โดยโดสที่ได้ผลคือ 500-6,000 มิลลิกรัม ในบางคนอาจมีอาการข้างเคียงจากวิตามินได้บ้างเล็กน้อย คือ มีหน้าแดง เส้นเลือดตามร่างกายขยาย ร้อนวูบวาบ (Flushing) ได้บ้าง แต่ไม่ใช่สิ่งอันตราย หากกังวลจากอาการข้างเคียง สามารถเปลี่ยนไปใช้ไนอาซินในรูป ไนอาซินาไทด์ (Niacinamide) ซึ่งไม่ทำให้เกิดอาการวูบวาบ เพื่อเลี่ยงจากอาการวูบวาบอีกวิธีหนึ่งคือ รับประทานไนอาซินเวลาก่อนนอน เพราะเมื่อคุณหลับก็จะไม่รู้สึกรำคาญจากการวูบวาบ แต่ในบางคนสามารถหาความสำราญจากผลข้างเคียงนี้ได้ด้วย เพราะเมื่อมีอาการวูบวาบอันเกิดจากเส้นเลือดขยายตัว จะทำให้มีการตอบสนองทางเพศดีขึ้น

 

ไนอาซิน คืออะไร

ไนอะซิน (Niacin) หรืออาจเรียกว่า นิโคตินิค แอสิด (Nicotinic acid) เป็นวิตามินบี (วิตามินบี 3) ถูกใช้เป็นวิตามินเสริม และใช้ร่วมกับยาที่สั่งจ่ายโดยแพทย์ ส่วนใหญ่จะถูกใช้บ่อยในการป้องกันโรคระบบหลอดเลือดหัวใจ บางคนรับประทานไนอะซินเพื่อรักษาภาวะขาดวิตามินบี 3 แต่คนส่วนใหญ่รับประทานเพื่อช่วยลดระดับคลอเลสเตอรอลและไตรกลีเซอไรด์ในเลือด ไนอะซินจะทำงานได้ดีที่สุดเมื่อรับประทานร่วมกับอาหารที่มีไขมันต่ำ และคอเลสเตอรอลต่ำ

 

ไนอะซินถูกใช้เป็นวิตามินเสริมเพื่อรักษาอาการขาดไนอะซินตามธรรมชาติในร่างกาย เพื่อลดความเสี่ยงของการเกิดหัวใจวายในคนที่มีคอเลสเตอรอลในเลือดสูงซึ่งเป็นโรคหัวใจวายอยู่แล้ว และใช้เพื่อรักษาโรคหลอดเลือดหัวใจ อย่างไรก็ตาม เนื่องจากไนอาซินนี้ถูกเมตาบอไลซ์ผ่านกระบวนการเมทิลเลชั่น ดังนี้อาจทำให้ระดับสารกลุ่มเมทิลในร่างกายต่ำ และระดับโฮโมซีสเทอีนจะสูงขึ้น หากใช้ไนอาซีนนานๆ ดังนั้นควรตรวจระดับโฮโมซีสเทอีนเป็นระยะด้วย

 

 

โฮโมซีสเทอีนสูง มีลักษณะอย่างไร

อาการจะมีลักษณะคล้ายกับอาการของภาวะไขมันในเลือดสูง อาจมาพบแพทย์ด้วยเรื่องของอาการเจ็บแน่นหน้าอก ในกรณีของผู้ป่วยโรคหัวใจและหลอดเลือด หรือมีอาการอัมพฤกษ์ – อัมพาตเกิดขึ้น ในกรณีของผู้ป่วยที่มีปัญหาของหลอดเลือดโดยทั่วไปในสมองอุดตัน

 

วิธีการป้องกันไม่ให้สารโฮโมซีสเทอีนมีค่าสูงขึ้น

เนื่องจากสารโฮโมซีสเทอีนในเลือด เกิดจากการรับประทานอาหารโปรตีนมากเกินไป เพราะฉะนั้น ถ้าเราไม่ต้องการให้เลือดมีระดับของสารโฮโมซีสเทอีนที่สูงกว่าความเป็นจริง เราก็ควรลดอาหารโปรตีนลงมา แล้วเพิ่มกลุ่มอาหารประเภทผักและผลไม้มากขึ้น พฤติกรรมการรับประทานแบบไทยๆ ดีอยู่แล้ว เพราะจะทำให้ระดับโฮโมซีสเทอีนในเลือดไม่สูงเกินไป และไม่ทำอันตรายต่อร่างกาย และถ้าเราไม่แน่ใจว่ารับประทานอาหารกลุ่มต่างๆ ได้เพียงพอ แพทย์สามารถสั่งวิตามินที่มีความสำคัญในการลดระดับของโฮโมซีสเทอีนในเลือดลงมาได้ ก็จะทำให้ระดับโฮโมซีสเทอีนในเลือดไม่สูงเกินความเป็นจริงที่ควรจะเป็น อันตรายก็จะไม่เกิดขึ้นกับผนังหลอดเลือด

 

วิตามินอีแบ่งออกออกเป็น 2 กลุ่มใหญ่

วิตามินอี (Vitamin E) หรือ โทโคฟีรอล (Tocopherol) เป็นวิตามินที่ละลายในไขมัน ซึ่งจะถูกเก็บสะสมไว้ที่ตับ เนื้อเยื่อ ไขมัน หัวใจ เลือด กล้ามเนื้อ มดลูก อัณฑะ ต่อมหมวกไต ต่อมใต้สมอง มีหน่วยวัดเป็น IU โดย 1 IU = 1 mg. โดยวิตามินอีแบ่งออกออกเป็น 2 กลุ่มใหญ่คือโทโคฟีรอลและโทโคไทรอีนอล โดยทั้ง 2 กลุ่มจะแบ่งเป็น 4 รูปแบบ คือ แอลฟา บีตา แกมมา เดลตา ซึ่งในบรรดาสารทั้ง 8 ตัว แอลฟาโทโคฟีรอลจัดได้ว่ามีฤทธิ์ทางชีวภาพ แต่แกมมาโทโคฟีรอลมีประสิทธิภาพมากกว่าในการเพิ่มระดับเอนไซม์ซูเปอร์ออกไซด์ดิสมิวเทส (SOD) ซึ่งมีความสามารถในการต่อต้านอนุมูลอิสระและป้องกันโรคที่เกี่ยวข้องกับการอักเสบเรื้อรัง ซึ่งรวมไปถึงมะเร็ง โรคหัวใจ โรคชรา อัลไซเมอร์

 

สรุปปริมาณสารอาหารที่ช่วยควบคุมระดับไขมันในเลือด

ไขมันในร่างกายเรา เวลาต้องเจาะเลือดตรวจไม่ได้มีแต่คลอเลสเตอรอลอย่างเดียว และหากออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ จะมีระดับไขมันดีขึ้น คือเอซดีแอล-คลอเลสเตอรอลสูง ซึ่งจะช่วยจับไขมันเลวตัวอื่นขับไปนอกร่างกาย  และค่าไขมันในเลือดคุณต้องดูแลให้อยู่ในระดับที่ “เหมาะสม” ไม่ใช่ระดับที่ “ปกติ” และหากคุณมีระดับไขมันในเลือดสูงจริง ก็ยังมีทางเลือกอื่นนอกจากกินยาคือ ควบคุมด้วยวิตามินไนอาซินและวิตามินอี

 

source : ถอดรหัสความชรา ตอน 120 วิธี อายุยืน 120 ปี เล่ม1 เรียบเรียงโดย นพ.กฤษดา ศิรามพุช  , honestdocs , absolute-healthmedthai