วันพุธ, 11 ธันวาคม 2567

13 ประโยชน์ของวิตามินเอ และทำความรู้จักกับลูทีน Ep.122

วิตามินเอ เป็นวิตามินที่ละลายได้ในไขมัน มีส่วนประกอบสำคัญของคอร์เนีย และยังมีผลต่อการเจริญเติบโตการสร้างกระดูก และระบบสืบพันธุ์ ป้องกันการติดเชื้อระบบทางเดินอาหาร ระบบทางเดินหายใจ ระบบขับปัสสาวะ ทำให้ผิวและผมแข็งแรง

 

 

วิตามินเอ จะถูกแบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม อยู่ในรูปแบบวิตามินอยู่แล้ว (Proformed Vitamin A) หรือเรียกว่า Retinol ซึ่งได้มาจากเนื้อสัตว์ เช่น น้ำมันตับปลา และกลุ่มที่กำลังจะเป็นวิตามินเอ (Provitamin A) หรือเรียกว่า Carotene เป็นสารที่เมื่อเข้าสู่รางกาย จะได้รับการเปลี่ยนเป็นวิตามินเอ พบมากในผักสีต่างๆ เช่น แครอท ผักโขม วิตามินเอช่วยในการมองเห็นในที่มืดและป้องกันการแพ้แสงต่างๆที่เป็นผลเสียต่อสายตา ส่วนผักผลไม้ที่ให้วิตามินเอส่วนใหญ่จะมีสีเหลือง ส้ม แดง และเขียวเข้ม เพราะมีเบต้าแคโรทีนและแคโรนอยด์ที่ร่างกายจะเปลี่ยนเป็นวิตามินเอต่อไป และเนื่องด้วยวิตามินเอในผักผลไม้ มีความไวต่อออกซิเจนมาก ดังนั้น วิธีการต้มที่ป้องกันการสูญเสียวิตามินได้ดีทีสุดคือ ควรปิดฝาภาชนะขณะต้มและใส่น้ำน้อยๆ

 

13 ประโยชน์ของวิตามินเอ

  1. มีผลต่อการเจริญเติบโต การสร้างกระดูก และระบบสืบพันธ์ุ
  2. ป้องกันการติดเชื้อระบบทางเดินอาหาร ระบบทางเดินหายใจ และระบบขับปัสสาวะ
  3. ทำให้ผิวและผมแข็งแรง
  4. เป็นสารต้านอนุมูลอิสระสามารถชะลอความแก่ได้
  5. ช่วยบำรุงสายตา และแก้โรคตามัวตอนกลางคืน (Night Blindness)
  6. ช่วยให้กระดูก ผม ฟัน และเหงือกแข็งแรง
  7. สร้างความต้านทานให้ระบบหายใจ
  8. ช่วยสร้างภูมิชีวิตให้ดีขึ้น และทำให้หายป่วยเร็วขึ้น
  9. ช่วยในเรื่องของผิวพรรณ ลดการอักเสบของสิว และช่วยลบจุดด่างดำ
  10. ช่วยบรรเทาโรคเกี่ยวกับไทรอยด์
  11. ช่วยรักษาโรคผิวหนังชนิดเป็นตุ่มพุพองที่เกิดจากเชื้อแบคทีเรีย ฝี ชันนะตุ และแผลเปิดต่าง ๆ
  12. ช่วยสร้างเนื้อเยื่อชั้นนอกของอวัยวะต่าง ๆ ให้มีสุขภาพดีขึ้น
  13. วิตามินเอช่วยลดระยะเวลาการเจ็บป่วยจากโรคต่าง ๆ ได้เป็นอย่างดี

 

3 โรคจากการขาดวิตามินเอ

1.โรคผิวหนัง เนื่องจากวิตามินเอมีส่วนสำคัญในการรักษาสภาพเยื่อบุผิวหนัง ขาดวิตามินเอทำให้ผิวพรรณขาดความชุ่มชื้น หยาบกร้าน แห้งแตก โดยเฉพาะผิวหนังบริเวณข้อศอก ตาตุ่มและข้อต่อต่างๆ ซึ่งอาจนำไปสู่โรคผิวหนัง เช่น สิวและโรคติดเชื้ออื่นๆ ได้

2.ตาฟาง หน้าที่ของวิตามินเอ คือช่วยในการสร้างสารที่ใช้ในการมองเห็น หากขาดจะทำให้มองเห็นได้ยากในเวลากลางคืน หรือในที่แสงสว่างน้อย และทำให้เยื่อบุตาแห้ง กระจกตาเป็นแผล ในกรณีที่ร่างกายขาดวิตามินเออย่างรุนแรงอาจทำให้ตาบอดได้

3.ความต้านทานโรคต่ำ วิตามินเอเป็นตัวช่วยสำคัญที่ทำให้ระบบภูมิคุ้มกันในร่างกายทำงานตามปกติ การขาดวิตามินเอจึงทำให้เกิดโรคติดเชื้อในระบบทางเดินหายใจได้ง่าย และทำให้เกิดการอักเสบในโพรงจมูก ช่องปาก คอ และที่ต่อมน้ำลาย

 

อันตรายจากการได้รับวิตามินเอเกินขนาด

1.แท้งลูกหรือพิการ หญิงมีครรภ์ที่ได้รับวิตามินเอมากเกินไปมีความเสี่ยงต่อภาวะทารกในครรภ์คลอดออกมาพิการหรือแท้งได้ เนื่องจากวิตามินเอมีผลต่อการเจริญเติบโตของเด็กในครรภ์ อาจทำให้เด็กมีความผิดปกติที่ทางเดินปัสสาวะ กระดูกผิดรูป หรือมีติ่งปูดออกมาที่บริเวณหู

2.อาการอ่อนเพลีย หากร่างกายได้รับวิตามินเอเกินครั้งละ 15,000 ไมโครกรัม จะมีผลทำให้รู้สึกอ่อนเพลียและอาเจียนได้

3.มีอาการเจ็บกระดูกและข้อต่อ เบื่ออาหาร เซื่องซึม นอนไม่หลับ กระวนกระวาย ผมร่วง ปวดศีรษะ ท้องผูก ทั้งหมดนี้เป็นโทษในระยะยาวที่เกิดจากการรับประทานวิตามินเอมากเกินไปในสัตว์กระเพาะเดี่ยว เมื่อได้รับเกินความต้องการ 4-10 เท่า จะทำให้โครงกระดูกผิดปกติ ในสัตว์เคี้ยวเอื้องเมื่อได้รับเกิน 30 เท่า จะเกิดอาการผิดปกติ

 

 

ทำความรู้จัก ลูทีน Lutein

ลูทีน ( Lutein ) คือ สารกลุ่มแคโรทีนอยด์ (สารสีเหลือง) มีส่วนอย่างมากในการต่อต้านสารต้านอนุมูลอิสระ ลูทีนพบมากที่สุดตรงบริเวณจุดศูนย์กลางของเรตินา หรือ จอตา ซึ่งทำหน้าที่ช่วยปกป้องดวงตา โดยเฉพาะดูดซับแสงสีน้ำเงินก่อนที่จะส่งผลเสียต่อดวงตา เป็นสาเหตุอันดับต้นๆที่ทำให้ดวงตาของผู้คนในปัจจุบันมีปัญหา ลูทีนจะเริ่มลดลงในช่วงอายุ 15 ปีขึ้นไป จึงจำเป็นต้องดูเเลรักษา เเละบำรุงดวงตาด้วยการรับประทานอาหารที่เป็นประโยชน์ต่อดวงตา จากการศึกษาพบว่า ระดับลูทีน 2.0 – 6.9 มิลลิกรัมต่อวัน จะช่วยป้องกันความเสื่อมของจุดด่างในดวงตาได้

 

6 ประโยชน์ของสารลูทีน

1.จะช่วยสร้างสารต้านอนุมูลอิสระในการป้องกันเยื่อแก้วตา (retina)

2.การรับประทานแคโรทีนอยด์ในปริมาณที่สูงที่สุด จะมีอัตราเสี่ยงต่ำกว่า 43% สำหรับภาวะการเสื่อมของจอประสาทตาเสื่อม เมื่อเปรียบเทียบการรับประทานในปริมาณที่ต่ำที่สุด

3.จากการศึกษากลุ่มตัวอย่างจำนวน 876 คน ซึ่งมีอายุระหว่าง 55-80 ปี การได้รับลูทีนและซีแซนทีน ในอัตราสูง จะช่วยลดความเสี่ยงของจอประสาทตาเสื่อมอย่างเฉียบพลันตามอายุได้

4.จากการศึกษาคนไข้จำนวน 421 คน แสดงให้เห็นว่า ผู้ที่ได้รับลูทีนและซีแซนทีนในระดับสูงที่สุด จะมีส่วนสำคัญต่อการลดระดับอัตราเสี่ยงของความเสื่อมของตาตามอายุได้

5.จากการศึกษาแสดงให้เห็นว่า หญิงและชายที่ได้รับ ลูทีนในระดับสูงที่สุด จะเป็นต้อกระจกในอัตราที่ต่ำกว่า ผู้ที่ไม่รับประทานลูทีนจากผักและผลไม้

6.สารลูทีนอาจช่วยป้องกันมะเร็งปอด มะเร็งสำไส้ และมะเร็งเต้านม

 

การรับประทานสารลูทีน ช่วยลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคมะเร็งลำไส้ในทั้งผู้ชายและผู้หญิง ลดอัตราเสี่ยงที่สำคัญที่สุดคือ การตรวจพบการเป็นโรคมะเร็งลำไส้ระยะเริ่มแรก การรับประทานผักที่อุดมไปด้วยแคโรทีนอยด์ ซึ่งประกอบด้วยลูทีนในปริมาณสูง จะลดความเสี่ยงการเป็นโรคมะเร็งเต้านมได้ โดยเฉพาะสำหรับสตรีที่มีประวัติคนในครอบครัวเป็นโรคมะเร็งเต้านม

 

ลูทีน ซีแซนทีน กิฟฟารีน

 

source : th.wikipedia.org/wiki/วิตามินเอth.wikipedia.org/wiki/สารพฤกษเคมี#สารลูทีน_(Lutein)