วันพุธ, 11 ธันวาคม 2567

กิโยตีน เครื่องประหารหฤโหด และทำไมต้องอาถรรพ์เลข 13

28 มี.ค. 2018
3079

กิโยตีน เครื่องประหารหฤโหด

ก่อนคริสต์ศตวรรษที่ 17 การประหารชีวิตนักโทษส่วนใหญ่ในยุโรป ใช้วิธีการแขวนคอหรือไม่ก็ผูกไว้ที่หลักแล้วเผาทั้งเป็น นักโทษที่ถูกเผาทั้งเป็นมักจะเป็นพวกนอกรีตที่ถูกตัดสินว่ากระทำผิดต่อศาสนา ซึ่งหลายคนมองว่าการลงโทษเช่นนี้ถือเป็นการทำผิดมนุษยธรรม

จนกระทั่งในปี ค.ศ. 1789 ดร.กิโยตีน (Dr. Joseph lgnace Guillotine) ซึ่งเป็นหนึ่งในผู้แทนของสภาฝรั่งเศสได้เสนอต่อสภาให้ผู้ให้พิพากษาและลงโทษนักโทษด้วยการตัดหัว และคนส่วนใหญ่ต่างก็เห็นว่าการตัดหัวเป็นวิธีการที่มีมนุษยธรรมที่สุด เมื่อเทียบกับการประหารชีวิตด้วยวิธีอื่นๆ ดังนั้นจึงมีการประดิษฐ์เครื่องประหารขึ้นโดยศัลยแพทย์ชื่ออองตวน หลุยส์ (Antoine Louis) และเรียกเครื่องประหารนี้ว่ากิโยตีน (Guillotine) เครื่องประหารกิโยตีนสร้างขึ้นครั้งแรกที่ปารีส โดยวิศวกรชาวเยอรมันชื่อโทบัอัส ชมิท (Tobias Schmidt) และได้ทดลองใช้กับศพเมื่อวันที่ 17 เมษายน ค.ศ. 1792 หลังจากนั้นได้นำมาใช้ประหารนักโทษ ชื่อนิโคลัส ชากเกอส์ เปเลตีเย (Nicholas Jacques Pelletier)  เมื่อวันที่ 25 เมษายน ค.ศ. 1792 ในปี ค.ศ. 1792 เครื่องประหารกิโยตีนก็ได้รับการยอมรับกันในหลายประเทศ และสภาฝรั่งเศสได้ประกาศใช้กฎหมายว่าการประหารชีวิตโดยการบันคอออกมาอย่างเป็นทางการ

กิโยตีนแบบฝรั่งเศสจะมีโครงเสาทำจากไม้ 2 ต้นเป็นที่ติดตั้งใบมีด เสา 2 ต้นนี้สูงประมาณ 14 ฟุต อยู่ห่างกันประมาณ 15 นิ้ว บริเวณด้านในของเสาจะมีร่องสำหรับให้ใบมีดเคลื่อนที่ได้อิสระ ส่วนฐานของกีโยตีนมีลักษณะคล้ายโต๊ะสี่เหลี่ยมสูงจากพื้น 80 เซนติเมตร เหนือฐานมีที่สมัครให้นักโทษนอนราบ และมีร่องครึ่งวงกลมสำหรับวางคอลงไปให้ได้ตำแหน่งพอดีกับใบมีด ร่องสำหรับวางและล็อคคอนี้มีสองร่องคือร่อง ด้านล่างมีลักษณะเป็นครึ่งวงกลมหงาย ส่วนล่างด้านบนมีลักษณะเป็นครึ่งวงกลมคว่ำ เมื่อนำนักโทษนอนราบระหว่างคอตรงตำแหน่งแล้ว เขาจะนำร่องด้านบนประกบร่องด้านล่างให้พอดีเพื่อกันไม่ให้คอเคลื่อนได้ ส่วนใบมีดทำจากเหล็กกล้าคุณภาพดี ขนาดใบลึกประมาณ 30 เซนติเมตรและหนักถึง 40 กิโลกรัม ใบมีดนี้จะติดอยู่ด้านบนเสาห่างจากร่องวางคอประมาณ 7 ฟุต การทำงานของใบนี้จะใช้รอกทองเหลืองเป็นคนไกล เมื่อจะบั่นคอนักโทษ ใบมีดจะถูกปล่อยลงด้วยเชือกเส้นเล็กที่ขึงไว้กับคานด้านหนึ่งของเสา นอกจากนี้ยังมีตะกร้าหวายปูด้วยผ้าชุบน้ำมันสำหรับใส่หัว และถาดโลหะสำหรับรองเลือด และหลังจากที่นักโทษถูกถูกบั่นคอแล้วเจ้าหน้าที่จึงแก้เชือกที่ผูกติดกับแผ่นกระดานออก แล้วนำศพไปบรรจุลงในหีบศพ

 

มนุษย์กินคนมีจริงหรือ

มนุษย์กินคน หมายถึง คนที่กินเนื้อคน ซึ่งไม่น่าจะมีในโลกและไม่น่าจะเป็นไปได้ที่เคยมีคนเช่นนี้ แต่รู้ไหมในประวัติศาสตร์ย้อนหลังไปหลายพันปี คนกินเนื้อคนนี้มีอยู่จริง

ในช่วงหนึ่งมีมนุษย์กินคนอาศัยอยู่บริเวณตอนกลางของทวีปยุโรปสมัยปลายยุคน้ำแข็ง จนอาจถึงยุคอียิปต์โบราณ และในพื้นที่ของเกาะโปลินีเซีย นิวซีแลนด์ ฟิจิ  ออสเตรเลีย เกาะกินี แอฟริกา ทางตอนเหนือทวีปแอฟริกาอเมริกาใต้ และหมู่เกาะเครื่องเทศ เหตุผลที่มนุษย์กินเนื้อคนด้วยกันเองนี้ อาจมีสาเหตุมาจากการทำสงครามด้วยมีความเชื่อว่าเมื่อกินเนื้อของข้าศึกแล้วจะทำให้ได้ความแข็งแรงของข้าศึกมาไว้ในตัว หรือความเชื่อว่าจะเกิดความขลังในตัวเมื่อได้กินคน หรือไม่ก็อาจมาจากความขาดแคลนอาหาร ปัจจุบันเมื่อความเจริญมีมากขึ้น คนกินคนก็ค่อยๆ ลดจำนวนลงและหมดไปด้วยอิทธิพลของอารยธรรมสมัยใหม่ หรือบางแห่งอาจหมดไป เนื่องจากรัฐบาลประเทศนั้นๆ ประกาศให้การกินเนื้อคนเป็นสิ่งผิดกฎหมาย ยังมีมนุษย์กินคนเหลืออยู่บ้างซึ่งมักอยู่ในถิ่นที่ห่างไกลความเจริญ เช่น นิวกินี คองโกตะวันออกเฉียงเหนือ และพื้นที่ป่าดงดิบแถบลุ่มน้ำแอมะซอนในทวีปอเมริกาใต้ เป็นต้น

รู้หรือไม่  เมื่อวันที่ 12 สิงหาคม พ.ศ. 2547 หนังสือพิมพ์รายวันฉบับหนึ่งได้ลงข่าวว่ามีคนกินเนื้อคนในประเทศฟิลิปปิน เนื่องจากความแค้นที่ลูกสาวของตนถูกชายคนหนึ่งลวนลามขณะกำลังแต่งงาน เมื่อเห็นดังนั้นจึงชวนพรรคพวกพาชายคนนั้นไปฆ่าและจุดไฟเผา แล่เนื้อมาย่างกินแกล้มสุรา นอกจากนี้ยังนำเนื้อคนย่างไปแจกจ่ายให้คนที่มาร่วมงานกินด้วย

 

มนุษย์รับรู้กลิ่นได้อย่างไร

มนุษย์กับสัตว์อื่นๆ มีความสามารถในการดมกลิ่นแตกต่างกันอย่างเห็นหน้าชัด โดยเฉพาะสุนัขซึ่งมีเซลล์ประสาทรับรู้กลิ่นมากกว่ามนุษย์อีก 50 เท่า เชื่อกันว่าความสามารถในการดมกลิ่นของมนุษย์ลดลง เนื่องจากความก้าวหน้าและพัฒนาการด้านเทคโนโลยีสูงขึ้น และมนุษย์เราพึ่งพาทัศนะสัมผัส หรือการมองเห็นเป็นหลัก ในขณะที่สุนัขนั้นอาศัยการดมกลิ่นเป็นสัมผัสหลักในการมีชีวิต ในจมูกแต่ละข้างของมนุษย์มีส่วนที่รับรู้กลิ่นซึ่งมีขนาดเล็กเท่าๆ กับเล็บมือ ส่วนในสุนัขหากนำประสาทในการรับรู้กลิ่นมาแผ่ออก พื้นที่ของปราสาทในการรับรู้กลิ่นของสุนัขจะมีมากเกือบครึ่งหนึ่งผิวหนังทั้งหมดของสุนัขทีเดียว สมองที่ทำหน้าที่ที่เกี่ยวกับการรับรู้กลิ่นของมนุษย์เรานั้น มีพื้นที่เพียง ของสมองทั้งหมดเท่านั้น ในขณะที่ ของสมองสุนัขทำหน้าที่ในการรับรู้กลิ่น

ดังนั้นจึงเป็นที่แน่นอนว่า มนุษย์เรามีการพัฒนาอวัยวะอื่นๆ เพื่อการรับรู้ทางการพัฒนาอวัยวะในการรับรู้กลิ่น โดยมีฆานประสาทที่เป็นคนละเอียดอ่อนในเนื้อเยื่อฆานประสาท ซึ่งเนื้อเยื่อมีต้องมีความชุ่มชื้นอยู่ตลอดเวลาเพราะหากมันแห้ง มนุษย์ก็จะไม่ได้กลิ่นอะไรเลย ในการรับรู้กลิ่น สารเคมีที่ทำให้เกิดกลิ่นจะละลายในชั้นไขมันที่เคลือบเส้นขนของฆานประสาท จากนั้นประสาทในการรับรู้กลิ่นก็จะจำแนกประเภทของสาร ซึ่งคนเราสามารถจำแนกได้เพียง 5 ชนิดเท่านั้น คือ กลิ่นหอม กลิ่นฉุน กลิ่นเหม็นไหม้ กลิ่นเหม็นเน่า และไม่มีกลิ่น

รู้หรือไม่ ไซนัส คือโพรงอากาศที่อยู่รอบๆ จมูกในกระดูกบนใบหน้า มีทั้งข้างซ้ายและข้างขวา เรียกชื่อต่างกัน ดังนี้

  • แมกซิลลารีไซนัส (Maxillary sinus) อยู่บริเวณแก้ม
  • เอทมอไซนัส (Ethmoid sinus) อยู่บริเวณใต้สันจมูก
  • ฟรันเทิลไซนัส (Frontal sinus) อยู่บริเวณหน้าผาก
  • สฟินอยด์ไซนัส (Sphenoid sinus) อยู่บริเวณใต้สันจมูก

 

ด่านแรกของร่างกาย

ผิวหนัง เป็นส่วนที่ห่อหุ้มร่างกายภายนอกของตัวเรา ทำหน้าที่ส่งข้อมูลเป็นจำนวนมากไปยังสมองอย่างต่อเนื่องอยู่ตลอดเวลาแบ่งออกเป็น 2 ชั้นคือ ผิวหนังชั้นใน (Dermis) และผิวหนังชั้นนอก (Epidermis) ผิวหนังของคนเราที่มองเห็นอยู่คือผิวหนังชั้นนอก ที่เรียกว่าหนังกำพร้า มีลักษณะเหนียวและแข็งแรง เซลล์ผิวหนังส่วนนี้มีลักษณะแบนเป็นเซลล์ที่ตายแล้วและกำลังจะหลุดออกไป ใต้ชั้นผิวหนังชั้นนอกมีผิวหนังชั้นในที่เรียกว่า หนังแท้ ซึ่งมีเซลล์ประสาทรับความรู้สึกอยู่ ผิวหนังชั้นในนี้ประกอบด้วยต่อมเหงื่อและท่อนำเหงื่อ รวมถึงรากขน ผิวหนังเป็นส่วนที่ไม่ยอมให้น้ำซึมผ่านเพื่อป้องกันมิให้ร่างกายสูญเสียความชื้นเมื่อถูกความร้อน และป้องกันไม่ให้ร่างกายต้องละลายไปเมื่อถูกน้ำหรือโดนฝนนอกจากนี้ผิวหนังยังป้องกันอันตรายจากแสงอาทิตย์ เป็นโล่ป้องกันฝุ่นและเชื้อโรค ป้องกันการกระทบกระเทือนถึงอวัยวะภายใน และรักษาอุณหภูมิของร่างกายให้คงที่อีกด้วย

 

อาถรรพ์เลข 13

คงมีใครหลายคนสงสัยว่าเลข 13 เป็นเลขของความโชคร้ายจริงหรือ เพราะบางคนอาจเคยเจอเรื่องราวร้ายๆ ที่คิดว่าเกี่ยวข้องกับเลข 13 และเป็นสิ่งที่ไม่สามารถอธิบายได้ แต่ความเป็นจริงแล้วเรื่องราวเหล่านั้นล้วนเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นจากความบังเอิญ

ความเชื่อว่าเลข 13 เป็นเลขแห่งความโชคร้าย ที่คนทั่วโลกส่วนใหญ่เชื่อกันนั้น สันนิษฐานว่าอาจมาจากพฤติกรรมหรือเหตุการณ์ที่เล่าสืบต่อกันมาแต่โบราณดังมีเรื่องเล่าดังต่อไปนี้ ในยุคแรกๆ มนุษย์ใช้นิ้วมือ 10 นิ้ว และเท้า 2 เท้า เป็นเครื่องช่วยในการนับซึ่งแน่นอนว่ามันจะนับได้เพียงเลข 12 เท่านั้น และนอกเหนือจากเลข 12 ไปแล้วก็ไม่สามารถนับได้ ทำให้มนุษย์ในสมัยนั้นคิดว่า เลขจำนวนถัดไปมันมากเกินจะนับและเกินกว่าจะรับรู้ จึงเกิดความหวาดกลัวในสิ่งที่ตนไม่รู้ ส่วนชาวคริสต์มีความเชื่อว่าเลข 13 เป็นเลขอัปมงคล อันเนื่องมาจากเมื่อครั้งที่พระเยซูคริสต์ยังทรงมีพระชนม์อยู่ ก่อนที่พระองค์จะถูกจับตรึงกางเขน พระองค์ทรงรับประทานอาหารมื้อค่ำมื้อสุดท้ายกับบรรดาศิษย์ 12 คน ซึ่งรวมพระองค์ด้วยก็เป็น 13 คน และ 1 ในศิษย์ 12 ก็มีคนหนึ่งที่ทรยศ ขายพระองค์ให้กับพวกฟารีสี จนพระองค์ถูกตรึงกางเขนในวันศุกร์ ดังนั้นเมื่อวันศุกร์มาตรงกับวันที่ 13 หลายคน จึงเชื่อว่าวันนั้นเป็นวันมหาอัปมงคลเลยทีเดียว

นอกจากนี้ยังมีเทพนิยายปรัมปราของชาวสแกนดิเนเวียที่เล่าถึงงานเลี้ยงในวิหารวัลฮัลลา (Valhalla) อันเป็นที่อยู่ของเทพโอดิน (Odin) ในงานนั้นเทพโอดินได้เชิญเทพผู้ครองแคว้นต่างๆ จำนวน 12 องค์มาร่วมงาน แต่แล้วเทพโลคี (Loki) ซึ่งเป็นเทพแห่งความชั่วร้ายก็มาปรากฏตัวในงานเลี้ยงในฐานะแขกไม่ได้รับเชิญ ทำให้จำนวนแขกในงานมี 13 คนและแล้วเทพบาลเดอร์ (Balder) ซึ่งเป็นเทพแห่งความดีก็ถูกฆ่าตาย ดังนั้นใครๆ จึงคิดว่าเลข 13 เป็นเลขแห่งความโชคร้ายจนทำให้มีผลต่อความเชื่อของมนุษย์ในยุคปัจจุบัน เช่น โรงแรมต่างๆ ในยุโรปมักจะไม่มีห้องเบอร์ 13 และชั้นที่ 13 หรือนักเดินเรือก็จะไม่ยอมออกเรือในวันที่ 13 เป็นต้น แต่ที่อาการหนักกว่าใครเห็นจะเป็นประเทศตุรกีที่ยอมลงทุนตัดเลข 13 ออกไปจากสารบบตัวเลขเลยทีเดียว ในความเชื่อเหล่านี้ก็เป็นเพียงเรื่องโชคลางเท่านั้น เพราะมีความเชื่อที่ขัดแย้งกับความเชื่อนี้เช่นกัน เช่น ชาวจีนและชาวอียิปต์โบราณเชื่อว่าเลข 13 เป็นเลขมหาโชค

รู้หรือไม่  ภาพวาดที่ชื่ออาหารค่ำมื้อสุดท้ายหรือ The Last Supper ที่เลโอนาร์โด ดา วินชี วาดไว้บนฝาผนังโรงอาหารของโบสถ์ซานตามาเรียเดลล์กราซีในนครมิลาน เมื่อปี ค.ศ. 1490 นั้น ถือเป็นงานศิลปะชิ้นเอก และชิ้นยอดของโลกตะวันตกชิ้นหนึ่ง แต่หลังจากนั้นเพียง 20 ปี ภาพวาดนั้นก็หลุดร่อนเสียหายมาก จึงต้องมีการซ่อมแซมด้วยการนำเทคนิควิธีการที่จะให้ภาพอยู่ในสภาพสมบูรณ์ที่สุดมาใช้

 

7 วันสำคัญไฉน

ในวัยเด็กๆ                                ทุกคนคงเคยท่อง

วันอาทิตย์                                 สีแดง

วันจันทร์                                   สีเหลือง

วันอังคาร                                  สีชมพู

วันพุธ                                        สีเขียว

วันพฤหัสบดี                            สีแสด

วันศุกร์                                      สีฟ้า

วันเสาร์                                     สีม่วง

แล้วทราบหรือไม่ว่าวันทั้ง 7 นี้มาจากไหน ชาวบาบิโลนถือว่าวันที่ 7 เป็นวันพิเศษ ที่พวกเขาควรหยุดทำงานแล้วไปประกอบศาสนกิจสักครั้งหนึ่ง แต่ชาวยิวได้เก็บวันใดวันหนึ่งในหนึ่งสัปดาห์ไว้เพื่อประกอบศาสนกิจซึ่งพวกเขาได้กำหนดให้ทุกๆ วันที่ 7 ของสัปดาห์เป็นวันซับบาธ ซึ่งจะตรงกับวันเสาร์ และถือว่าวันอาทิตย์เป็นวันแรกของสัปดาห์     คนไทยเราสมัยก่อนก็เคยมีวันหยุดงานเพื่อประกอบกิจทางศาสนาทุก 7 วันเช่นกัน คือวันพระ 8 ค่ำ และวันพระ 15 ค่ำ (ทั้งข้างขึ้นและข้างแรม) ซึ่งสมัยหนึ่งโรงเรียนมีวันหยุดเรียนตรงกับวันโกนและวันพระ เพื่อให้นักเรียนได้ไปทำบุญ แต่หลังจากที่มีการถือปฏิทินสุริยคติทำอย่างวัฒนธรรมชาติตะวันมตก ประเพณีก็มีการถือปฏิบัติน้อยลงจนยกเลิกไป

ครั้นชาวอียิปต์ได้รับเอาระบบ 7 วันมาใช้ และสังเกตเห็นว่าใน 1 เดือน ดวงจันทร์แตกต่างไปเป็นระยะ 4 ระยะ ได้แก่ขึ้น 1 ค่ำ ขึ้น 8 ค่ำ ขึ้น 15 ค่ำ และแรม 8 ค่ำ ซึ่งแต่ละระยะใช้เวลาประมาณ 7 วัน จึงทำให้เกิดความคิดว่าควรแบ่งเวลาเป็นสัปดาห์และ 7 วัน โดยตั้งชื่อของวันทั้ง 7 ตามชื่อเทพเจ้าของพวกเขา ดังนี้

  • วันที่หนึ่งของสัปดาห์ เป็นวันของพระอาทิตย์ (Sun) คือวันอาทิตย์ (Sunday)
  • วันที่สองของสัปดาห์ เป็นวันของพระจันทร์ (Moon) คือวันจันทร์ (Monday)
  • วันที่สามของสัปดาห์ เป็นวันของพระอังคาร เทพเจ้าแห่งสงคราม (Mars หรือ Tiw หรือ Teutonic) คือวันอังคาร (Tuesday)
  • วันที่สี่ของสัปดาห์ เป็นวันของพระพุทธ (Mercury หรือภาษาอังกฤษโบราณเรียกว่า Weden) เป็นวันพุธ (Wednesday)
  • วันที่ห้าของสัปดาห์ เป็นวันของพฤหัสบดี (Jupiter หรือ Thor หรือ Thur) เป็นวันพฤหัสบดี (Tuesday)
  • วันที่หกของสัปดาห์ เป็นวันของพระศุกร์ (Venus หรือ Frigg) เป็นวันศุกร์ (Friday) และ
  • วันที่เจ็ดของสัปดาห์ เป็นวันของพระเสาร์ (Saturn) เป็นวันเสาร์ (Saturday)

 

ที่มาและการอ้างอิง

WHAT รู้รอบเรื่องน่าทึ่งของโลก  โดย  นิภาพัชร์  ปิ่นสุวรรณ