วันพฤหัสบดี, 3 ตุลาคม 2567

6 วิธีที่จะทำให้ปัญหาการกินของลูกน้อยหมดไปได้

07 ส.ค. 2017
2303

ทำไมเด็กบางคนไม่ชอบกินข้าว สาเหตุส่วนใหญ่เกิดจากถูกพ่อแม่บังคับ เรื่องนี้พิสูจน์ได้ตรงที่เราไม่ค่อยได้เห็นเด็กในชนบทมีปัญหาเรื่องนี้ ความจริงแล้วเด็กไม่ว่าจะกินเก่ง กินไม่เก่ง เก่งบ้าง ไม่เก่งบ้างหรือกินเก่งแต่ป่วยแล้วไม่กิน เป็นต้น ขอให้เชื่อเถิดว่าเด็กทุกคนเกิดมาพร้อมกับความอยากอาหารในระดับที่ไม่ทำให้ร่างกายอ่อนแอหรือเจริญเติบโตต่ำกว่าเกณฑ์ปกติ ผู้ใหญ่ที่เข้าใจธรรมชาติของเด็กจะรู้ว่าปัญหาการกินเกิดขึ้นได้ทุกวัย ตั้งแต่วัยที่ยังกินแต่นมจนถึงวัยที่กินอาหารตามวัย เพราะความอยากอาหารของเด็กเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา อาทิตย์นี้อยากกินแต่ซีเรียล แต่อาทิตย์หน้าอาจไม่อยากแล้ว

 

เด็กบางคนเกิดปัญหาการกินเพราะอิจฉาน้องหรือมีความเครียดบางอย่างเกิดขึ้น

บวกกับความคิดกังวลของพ่อแม่ ยิ่งทำให้ความอยากอาหารของเด็กกลับมาเป็นปกติยากมากขึ้น การแก้ไขเรื่องนี้ต้องอาศัยเวลาและความอดทนถ้าเลิกบังคับเขาจะกลับมากินเองได้ในที่สุด เวลาเด็กไม่ยอมกิน สิ่งที่ผู้ใหญ่กลัวคือเด็กจะขาดสารอาหารทำให้อ่อนแอและเป็นโรค แต่เรื่องนี้แพทย์ทั้งหลายยืนยันได้ว่าเด็กที่กินยากไม่ได้มีปัญหาเจ็บป่วยบ่อยกว่าเด็กที่กินเก่ง แต่บางครั้งพ่อแม่รู้สึกผิดหรือถูกกดดันจากญาติ เพื่อนและหมอบางคน ว่าเลี้ยงลูกอย่างไรทำไมลูกน้ำหนักน้อยหรือตัวเล็กไม่อ้วนเหมือนคนอื่นๆ

ข้อเท็จจริงที่น่าสนใจคือผู้ใหญ่หลายคนก็เคยมีปัญหาแบบนี้ และจำได้ด้วยว่าการถูกบังคับจากพ่อแม่ไม่ได้ทำให้สถานการณ์ดีขึ้นเลย แต่พ่อแม่ไม่รู้จักวิธีอื่นในการแก้ปัญหานอกจากการใช้วิธีบังคับเหมือนกับที่ตัวเองเคยเจอมา

 

 

1.กินน้อยเพราะเป็นธรรมชาติ

เด็กทุกคนมีกลไกตามธรรมชาติที่จะต้องกินอาหารตามที่ร่างกายต้องการเพื่อดำรงชีวิตในการอยู่รอด และมีพัฒนาการที่ปกติ พบได้น้อยมากที่เด็กจะเจ็บป่วยร้ายแรงอันเนื่องมาจากการกินอาหารยาก การเป็นเช่นนั้นควรได้รับการปรึกษาจากแพทย์เวลาที่พาไปรับวัคซีนหรือตรวจร่างกาย คำแนะนำจากแพทย์อาจช่วยให้บรรเทาความกังวลและความกดดันลงได้ การให้รับวิตามินรวมอาจช่วยให้เด็กมั่นใจได้ว่าเด็กได้รับสารอาหารครบถ้วน

 

2.กินแบบมีความสุข

สิ่งนี้มีเป้าหมายไม่ใช่ให้เขาเริ่มตักอาหารเข้าปาก แต่เด็กมีความสุขและไม่เครียดทำให้เขาอยากกินอาหารได้เอง การสร้างบรรยากาศที่ดีคือ ไม่ต้องพูดถึงเรื่องกินของเขา ไม่มีการขู่บังคับหรืออ้อนวอน เมื่อเด็กกินอาหารได้มาก หรือผิดหวังเมื่อเขากินได้น้อย ถ้าวันไหนแม่ลืมเรื่องราวการกินของลูกเมื่อไร การฝึกครั้งนี้ถือว่าได้ผล หลังจากนั้นเมื่อเด็กไม่รู้สึกถูกกดดัน ความอยากอาหารจะตามมา

 

ผู้ใหญ่บางคนอาจจะได้ยินคำแนะนำง่ายๆว่า วางอาหารให้เขาไม่ต้องพูดอะไร เมื่อครบ 30 นาทีให้เก็บได้เลยไม่ว่าเขาจะกินมากหรือกินน้อย และไม่ต้องให้อะไรเพิ่มจนกว่าจะถึงเวลาอาหารมื้อต่อไป ดังนั้นเมื่อเด็กรู้สึกหิวเด็กก็ต้องกิน การใช้วิธีนี้ต้องไม่ทำด้วยความโกรธหรือทำให้เหมือนเป็นการลงโทษ ไม่ต้องแสดงความวิตกกังวลเกี่ยวกับปริมาณอาหารที่เขากินแต่อย่างใด หากแม่ทำด้วยความโกรธและขู่ว่าหากไม่กินให้เสร็จใน 30 นาทีจะไม่ได้กินอะไรอีกเลยจนถึงเมื่อต่อไป การขู่แบบนี้ยิ่งทำให้ความอยากอาหารของเด็กหดหายไปจนหมด และอาจไม่รู้สึกหิวได้นานกว่าที่ผู้ใหญ่คิด ซึ่งในใจของแม่คงไม่อยากให้เด็กกินเพราะความกลัว แต่ต้องการเห็นเขากินเพราะอยากกินมากกว่า เราเริ่มจากอาหารที่เด็กชอบมากที่สุดและต้องมีประโยชน์ทางโภชนาการครบถ้วน หลีกเลี่ยงอาหารที่เด็กไม่ชอบ ควรรอจนกระทั่งลูกยอมรับอาหารได้มากขึ้นและลดความตึงเครียดขณะกินได้แล้ว

 

 

3.ยอมรับอาหารที่ลูกเลือก

เช่น ลูกคุณไม่กินอาหารแค่อย่างเดียวนั้นไม่เท่าไรหรอก ลูกฉันสิ กินแค่ เนย ถั่ว ส้ม ไอศครีม โซดาและขนมปังขาวแค่แผ่นเดียว บางทีก็แค่ถั่วลันเตา 2-3 ช้อน

 

กรณีนี้ถือเป็นปัญหาที่ยากมากขึ้น แต่หลักในการแก้ไขคือเหมือนเดิม หากให้เด็กกินกล้วยกับขนมปังเป็นอาหารเช้า ส่วนมื้อกลางวันอาจให้เนยถั่ว ถั่วลันเตาและส้ม มื้อเย็นจัดขนมปังและกล้วยให้เขา ทำอย่างนี้ทุกวันแต่สลับชนิดของอาหารแต่ละมื้อประมาณ 2-3 เดือน เพิ่มเมนูได้ตามที่เด็กขอ ผู้ใหญ่อาจจะแอบเพิ่มเมนูใหม่ที่อยากให้เขาลองแต่ไม่ใช่เมนูที่เด็กเกลียดประมาณ 2-3 ช้อน โดยไม่ต้องบอกเขา เรารู้ว่าเขากินหรือไม่ ถ้าไม่กินก็ไม่เป็นไรและลองใหม่อีก 2-3 สัปดาห์ ต่อจากนั้นระหว่างนั้นสามารถลองอาหารชนิดใหม่ไปได้เรื่อยๆ แต่ขอให้งดน้ำอัดลมและอาหารขยะพร้อมกับเสริมวิตามินรวมเพื่อให้มั่นใจว่าเขาได้รับวิตามินครบถ้วน

 

หากเด็กไม่ยอมกินอาหารมื้อหลักขอแต่ของหวาน ไม่ควรเอาของหวานเข้าล่อ เช่น ลูกจะไม่ได้กินของหวานจนกว่าลูกจะกินผักหมด การพูดแบบนี้ยิ่งทำให้เขาไม่อยากกินผักมากขึ้น วิธีแก้ไขคือ ขอให้ของหวานเป็นผลไม้เท่านั้น ถ้าจะให้ขนมหรือไอศกรีมไม่ควรมากกว่านั้นหรือไม่ควรมากกว่าครั้งหรือสองครั้งต่อสัปดาห์ และควรเสริมให้ทุกคนในบ้านรับประทานร่วมกันหรือลองไม่ใส่ใจเวลาที่เด็กจะกินอะไร เพราะการฝึกกินที่เด็กต้องตัดสินใจแล้วว่านั่นมันน่าเบื่อ ยิ่งทำให้การกินของเขาไม่มีความสุขหรืออาจจะกินอาหารชนิดนั้นช้าลงเรื่อยๆ และอย่าได้บังคับให้เขากินอาหารที่เคยปฏิเสธทุกครั้ง สุดท้ายเขาจะไม่กินอาหารมื้อนั้นอีกต่อไปเพราะต้องมีปัญหาขัดแย้งเกิดขึ้นกันแน่นอน

 

 

4.เสิร์ฟให้น้อย

เด็กที่กินอาหารยากควรให้ปริมาณน้อย หากอาหารมากเกินความสามารถที่ลูกกินได้ ยิ่งทำให้เขาปฏิเสธมันมากขึ้น แต่ถ้าผู้ใหญ่ตักให้ปริมาณที่น้อยกว่าความคาดหวังของเขา เด็กจะรู้สึกว่าอาหารไม่พอกิน นั่นเป็นสัญญาณที่ดี เช่น อาจเสริมเพียงถั่ว 1 ช้อนชา ผัก 1 ช้อนชา มันบด 1 ช้อนชา ในจานใบเล็กๆเหมือนปริมาณที่ตุ๊กตากิน เวลาเล่นสมมติหากกินหมดอย่ารีบถามทันทีว่าจะเอาเพิ่มหรือไม่และควรรอให้เด็กขอเพิ่มเอง แม้ว่าต้องใช้เวลาหลายวันกว่าเขาจะขอเพิ่มก็ตาม

 

5.ควรอยู่ด้วยหรือไม่ขณะลูกกิน

ขึ้นอยู่กับว่าเด็กต้องการพ่อแม่หรือไม่ แต่หากคิดว่าจะหยุดตัวเองไม่ให้บ่นได้ผู้ใหญ่อาจไม่ต้องนั่งอยู่กับเด็กก็ได้เช่นกัน แต่ต้องมีเทคนิคในการเดินจากไป เช่น แม่ไปเข้าห้องน้ำก่อนนะหรือแม่ไปทำธุระก่อนเดี๋ยวมานะ

 

6.อย่าติดสินบน

แม้ว่าการติดสินบนรูปด้วยลูกอม ของหวาน ให้ดาวแห่งความเก่งกาจ หรือแม่จะรักมากขึ้น สามารถทำให้เด็กกินอาหารได้เพิ่มขึ้นอีก 2-3 เท่าได้ แต่ในระยะยาววิธีนี้กลับทำให้เด็กกินอาหารได้น้อยลง

 

ที่มาและการอ้างอิง

ดร.สป๊อก-นายแพทย์เบนจามิน สป๊อก (เขียน).แพทย์หญิงสุธีรา เอื้อไพโรจน์กิจ (แปล).คำภีร์เลี้ยงลูก (181 – 184).กรุงเทพ.อมรินทร์สุขภาพ.2552.