ในเด็กแรกเกิดอาจมีภาวะหลาย ๆ อย่างที่พ่อแม่อาจกังวลใจ บางอาการไม่น่าเป็นห่วงเพราะเป็นเรื่องปกติที่ทารกอาจะเป็นได้ทั่วไป แต่บางอาการอาจต้องอาศัยการสังเกต การเฝ้าระวังอย่างต่อเนื่อง เช่น นิ้วมือนิ้วเท้ามีสีม่วงคล้ำไม่หาย ต้องรีบปรึกษาแพทย์โดยเร็ว เพราะอาจเกิดจากภาวะออกซิเจนในเลือดต่ำ ดังนี้ 10 อาการต่อไปนี้ คุณพ่อคุณแม่ทั้งมือใหม่มือเก่าไม่ควรมองข้ามเด็ดขาด
1.สิ่งที่มีมาแต่กำเนิด
เด็กที่เกิดมาแต่ละคนเมื่อดูโดยรวมมักไม่พบตำหนิที่ติดตัวเขามาตั้งแต่เกิด หมอเด็กที่ตรวจก็อาจลืมบอกพ่อแม่ด้วยคิดว่าไม่ใช่เรื่องผิดปกติ เพราะฉะนั้นหากลูกของคุณอาจมีตำหนิเหล่านี้หนึ่งอย่างหรือสองอย่างก็ไม่ต้องกังวล
- ปานเส้นเลือด ลักษณะเป็นปานคล้ายเส้นเลือดฝอย มักจะพบที่ ต้นคอ เปลือกตาบน หรือระหว่างหัวคิ้วส่วนใหญ่จะจางหายไปได้เองเมื่ออายุ 2-3 ขวบ
- ปานเส้นเลือดดำ ลักษณะเป็นบริเวณสีแดงเข้มบริเวณขมับแก้ม หรือส่วนอื่นๆของร่างกาย บางครั้งจางหายไปได้เอง แต่หากไม่จางรักษาได้โดยการยิงเลเซอร์บางครั้งอาจพบความผิดปกติของระบบประสาทร่วมด้วยในกรณีที่มีปานชนิดนี้
- ปานเขียว mongolian spots ลักษณะเป็นบริเวณสีเขียวหรือสีน้ำเงินเทาพบบริเวณก้นหรือส่วนอื่นๆของร่างกาย เช่น แขน ขา หรือลำตัว ส่วนใหญ่หายได้เองในช่วง 5 ขวบ
- ไฝ มีทั้งขนาดเล็กและขนาดใหญ่ ผิวเรียบหรือมีขน หากขนาดของไฝไม่เปลี่ยนแปลง ไม่ถือว่าเป็นอันตราย แต่หากไฝโตขึ้นหรือเปลี่ยนสี ควรแจ้งให้แพทย์ทราบ แต่ไฝส่วนใหญ่จะเป็นเนื้อปกติ ส่วนน้อยเท่านั้นที่อาจเป็นเนื้อร้ายหรือมะเร็ง แต่รักษาได้โดยการตัดออก
- ปานเส้นเลือด strawberry ลักษณะเป็นจุดแดงเล็กๆคล้ายยุงกัดหรืออาจไม่มีรอยใดๆ เมื่อแรกเกิดแต่จะชัดขึ้นเรื่อยๆลักษณะของปานเส้นเลือด strawberry จะหยุดโตเมื่ออายุประมาณ 1-2 ขวบแล้วจึงค่อยๆ เล็กลงจนหายไปในที่สุด ร้อยละ 50 ของรอยนี้จะหายเมื่ออายุ 5 ขวบ ร้อยละ 90 เมื่ออายุ 9 ขวบ หากเป็นที่เปลือกตาจะทำให้ลืมตาไม่ได้ ทำให้มีปัญหาตาขี้เกียจตามมาจึงต้องรักษาให้ยุบโดยเร็ว มี 2 วิธีคือ ยิงเลเซอร์หรือรับประทานยาสเตียรอยด์
- ตุ่มพองที่ปากหรือมือหรือข้อมือ อาจเกิดจากการที่ทารกดูดปาก มือ หรือข้อมือตัวเอง อยู่ในท้องเกิดเป็นตุ่มพองหรือลอกเป็นแผ่นไม่จำเป็นต้องรักษาเช่นกัน
2.นิ้วมือนิ้วเท้ามีสีม่วงคล้ำ
มือและเท้าของเด็กแรกเกิดมักมีสีม่วงคล้ำโดยเฉพาะเมื่ออากาศเย็น ทารกผิวขาวอาจทำให้ดูเหมือนตัวลายทั้งตัวเวลาไม่ได้ใส่เสื้อผ้า แต่ถ้าพบว่าเหงือกของลูกน้อยสีคล้ำลงหรือมีสีผิวรอบปากคล้ำลง อาจเป็นสัญญาณของภาวะออกซิเจนในเลือดต่ำกว่าปกติจึงควรพบแพทย์
3.ภาวะตัวเหลือง
ทารกส่วนใหญ่มีภาวะตัวเหลืองตาเหลืองสาเหตุเกิดจากการมีสารบิลิรูบินในเลือด ซึ่งเกิดจากการแตกของเม็ดเลือดแดง ตามปกติสารบิลิรูบินจะถูกกำจัดผ่านทางตับและลำไส้ออกไปกับอุจจาระทำให้อุจจาระมีสีเหลือง ระบบขับถ่ายของเด็กยังทำงานได้ไม่เต็มที่และลำไส้ทำงานได้น้อยในช่วง 2-3 วันแรก จึงทำให้เกิดภาวะตัวเหลือง มีส่วนน้อยที่เด็กตัวเหลืองเพราะเกิดจากการแตกของเม็ดเลือดแดงมากผิดปกติ หรือมีสาเหตุจากตับทำงานช้ากว่าปกติซึ่งอาจเป็นอันตรายต่อสมองได้ จึงควรปรึกษาแพทย์ หากพบว่าลูกตัวเหลืองมากผิดปกติ
ทารกที่กินนมแม่อย่างเดียวบางคนมีปัญหาตัวเหลืองระหว่าง 1 – 2 สัปดาห์ แต่หากเด็กแข็งแรงปกติ การขับถ่าย การดูดนม น้ำหนักตัวอยู่ในเกณฑ์ดี ไม่ซึม ไม่มีไข้ หากได้รับการตรวจว่าไม่ได้มีสาเหตุความผิดปกติอาจไม่จำเป็นต้องรักษา สามารถให้นมแม่ต่อได้ ตัวจะหายเหลืองภายใน 1 ถึง 2 เดือนแต่หากเด็กซึมไม่ดูดนมน้ำหนักตัวขึ้นน้อย อาจมีความผิดปกติที่รุนแรง เช่น ติดเชื้อในกระแสเลือด แต่เด็กที่ตัวเหลืองจากความผิดปกติของตับหรือท่อน้ำดี หรือการขาดฮอร์โมนไทรอยด์มีโอกาสเป็นได้แต่พบได้น้อยมาก
4.การหายใจ
ทารกมักจะหายใจไม่สม่ำเสมอ เดี๋ยวเร็ว เดี๋ยวช้า บางครั้งอาจหายใจเบาจนแม่แทบไม่ได้ยินเสียงหรือไม่ก็แรงมากจนพุงกระเพื่อม ทารกอาจกรนเบาเบาๆสาเหตุมาจากเยื่อบุโพรงจมูกอาจบวมเล็กน้อยจากการนอนแช่น้ำคร่ำมานาน
5.ไส้เลื่อนที่สะดือหรือสะดือจุ่น
เราอาจเคยได้ยินว่าคนที่สะดือจุ่นเพราะตอนเป็นเด็กมักจะร้องไห้เก่ง แต่ความเป็นจริงจะดูที่ไม่ยุบลงไป แต่กลับพบพื้นผิวหนังขึ้นมาเกิดจากชั้นกล้ามเนื้อที่อยู่ใต้ผิวหนังยังมีช่องโหว่อยู่ แม้ผิวด้านนอกจะปิดเรียบทำให้บางส่วนของลำไส้ถูกดันขึ้นมา เวลาที่รองให้เมื่อแรกเกิด อาจสังเกตเห็นไม่ชัดแต่จะชัดเมื่อมีอายุประมาณ 2 เดือน บ้างคนอาจมีขนาดใหญ่เส้นผ่าศูนย์กลางขนาด 3-4 เซนติเมตร แต่ส่วนมากขนาดจะลดลงและยุบหายได้เองภายใน 1 ปี การรักษาโดยการผ่าตัดจะทำเมื่อขนาดของสะดือที่ยื่นออกมามีขนาดใหญ่ผิดปกติและเด็กอายุ 8 ขวบ เป็นต้นไป
6.เต้านมโต
ทารกทั้งเพศชายและหญิงอาจมีเต้านมโตและบางคนอาจมีน้ำนมออก เป็นอิทธิพลฮอร์โมนจากแม่ ไม่ต้องรักษาห้ามบีบหรือนวดเพราะจะทำให้เต้านมอักเสบและติดเชื้อ
7.เมือกขาวหรือประจำเดือนจากช่องคลอด
ทารกเพศหญิงอาจมีเมือกขาวหรือเลือดออกจากช่องคลอดเป็นอิทธิพลฮอร์โมนจากแม่ไม่ต้องรักษา
8.ลูกอัณฑะผิดตำแหน่ง
เมื่อแรกเกิด ทารกเพศชายบางคนอาจมีลูกอัณฑะในถุงเพียงหนึ่งข้างหรือไม่มีเลย แต่อาจอยู่บริเวณขาหนีบหรือยังคงอยู่ในช่องคลอดแต่จะลดลงมาได้เองภายใน 1 ปี หากยังไม่มีการเปลี่ยนแปลง รักษาได้ด้วยการผ่าตัดเพื่อให้การทำงานของลูกอัณฑะกลับมาปกติและป้องกันไม่ให้กลายเป็นมะเร็ง หากถูกทิ้งไว้ในช่องท้อง
9.อาการผวาหรือสั่น
เมื่อมีเสียงดังหรือถูกเปลี่ยนท่าในการอุ้ม เด็กอาจมีอาการผวาเป็นกลไกธรรมชาติเพื่อป้องกันตัวหรือการทรงตัวของเด็ก อย่างเช่นเวลาอาบน้ำ เด็กบางคนอาจไม่ชอบที่ถูกเพราะอาจกลัวแม่จะทำเขาหลุดมือ ทำให้เด็กมีอาการผวาหรือมีอาการสั่นของแขนขา ดังนั้นการอุ้มทารกควรเป็นไปอย่างนุ่มนวลจะทำให้อาการตกใจจะดีขึ้นเมื่อเขาโตขึ้นเป็นลำดับ
10.กระตุก
อาการชักมักจะเกิดขึ้นขณะหลับ เด็กบางคนนาน ๆ เป็นทีแต่บางคนเป็นบ่อยอาการนี้หายเอง เมื่อโตขึ้น
ที่มาและการอ้างอิง
ดร.สป๊อก-นายแพทย์เบนจามิน สป๊อก (เขียน).แพทย์หญิงสุธีรา เอื้อไพโรจน์กิจ (แปล).คำภีร์เลี้ยงลูก (51-54).กรุงเทพ.อมรินทร์สุขภาพ.2552.