วันเสาร์, 27 กรกฎาคม 2567

เกร็ดความรู้สั้น ๆ พร้อมข้อคิด : ข้อควรระวัง สำหรับผู้ป่วยโรคต่อมไทรอยด์ ไทรอยด์เป็นพิษ ห้ามกินอะไร Ep.42

ก่อนที่จะเลือกใช้สารเสริมอาหาร สำหรับต่อมไทรอยด์มาเสริมสมรรถภาพ ควรปรึกษาแพทย์ผู้ชำนาญการด้านโภชนาศาสตร์ หรือผู้เชี่ยวชาญด้านโภชนาศาสตร์เสียก่อน

เพื่อช่วยให้เข้าใจอย่างถ่องแท้ว่า เหตุใดตัวเองจึงตกอยู่ในภาวะต่อมไทรอยด์ทำงานเกินหรืออาการไทรอยด์เป็นพิษ และเหตุใดต่อมไทรอยด์จึงเกิดภาวะขาดไทรอยด์

ภาวะต่อมไทรอยด์ทำงานเกินหรือไฮเปอร์ไทรอยด์คืออะไร

โดยทั่วไปภาวะต่อมไทรอยด์ทำงานเกินหรือไฮเปอร์ไทรอยด์ มักนำมาซึ่งการเต้นของหัวใจไม่สม่ำเสมอ คือหัวใจเต้นเร็ว วิงเวียนศีรษะ อารมณ์ฉุนเฉียวหงุดหงิด ลมหายใจกระชั้น โรคหัวใจกำเริบ จนอาจนำไปสู่การเสียชีวิตได้

ภาวะขาดไทรอยด์หรือไฮโปไทรอยด์คืออะไร

ส่วนภาวะขาดไทรอยด์หรือไฮโปไทรอยด์ ทำให้ผู้ป่วยอ้วนขึ้นอย่างไม่รู้สาเหตุ อ่อนเพลีย อยากนอนอยู่ตลอดเวลา เป็นต้น

การหาสาเหตุของโรคแล้วให้ยาที่ถูกกับโรค จึงจะช่วยบรรเทาภาวะต่อมไทรอยด์ทั้งแบบไฮเปอร์และไฮโปได้

ร่างกายสร้างต่อมไทรอยด์ขึ้นเพื่อต่อต้านสารก่อมะเร็ง

เมื่อร่างกายเราได้รับสารก่อมะเร็ง ที่มากับอาหารประเภท ปิ้ง ย่าง ทอด ผัด ซึ่งมี PS สารเคมีปรุงแต่งที่มากับอาหารแปรรูป สารเคมีแต่งสี สารกันบูด ฮอร์โมนสังเคราะห์ หรือเชื้อไวรัสและมีเซลล์ที่กลายพันธุ์มากจนเกินไป จนระบบรักษาตัวเองของร่างกาย ไม่สามารถซ่อมแซมหรือจัดการได้ และต้องการความช่วยเหลือ

ระบบก็จะส่งสัญญาณไปที่ต่อมไทมัส ซึ่งเป็นกองบัญชาการใหญ่ของระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย กองบัญชาการก็จะให้สมองสั่งการให้โรงงานผลิตอาวุธคือ ต่อมไทรอยด์ ผลิตอาวุธนิวเคลียร์ที่แรงที่สุด คือไทรอยด์ฮอร์โมน เพื่อพร้อมทำสงครามทำลายศัตรู

ยิ่งร่างกายได้รับสารก่อมะเร็งมากเท่าไร ต่อมไทรอยด์ก็ต้องผลิตอาวุธมากขึ้นเท่านั้น เพื่อเตรียมทำลายศัตรูก็คือสารก่อมะเร็งนี่เอง

แนะนำ : 6 เกร็ดความรู้เรื่องสุขภาพ เกี่ยวกับเนื้อสัตว์ Ep.19
แนะนำ : 5 เกร็ดความรู้เรื่องสุขภาพ เกี่ยวกับโรคซึมเศร้า Ep.20
แนะนำ : เกร็ดความรู้เรื่องสุขภาพ เกี่ยวกับการฟอกสีฟันขาว Ep.21

สาเหตุที่ทำให้มีไทรอยด์ฮอร์โมนมากเกินไปจนเกิดอาการไฮเปอร์ไทรอยด์

โดยทั่วไปมีองค์ประกอบ 2 อย่างคือ ที 3(T3,Triiodothyronine) ที่มีไอโอดีน 3 โมเลกุลกับ ที4(T4,Thyroxine) ซึ่งมีไอโอดีน 4 โมเลกุล

เมื่อต่อมไทรอยด์ ใช้ไอโอดีนจำนวนมากมาผลิตไทรอยด์ฮอร์โมน โรงงานผลิตอาวุธต่อมไทรอยด์ก็จะเหลือไอโอดีนน้อยลง เมื่อเป็นเช่นนี้แล้วจะเกิดปัญหาตามมา 3 ประการคือ

1.ต่อมไทรอยด์จะอักเสบ บวมโต ตาจะโปนออกมา

2.ต่อมไทรอยด์ไม่สามารถผลิตไทรอยด์ฮอร์โมนได้อีกต่อไป

ร่างกายมีสมรรถภาพต่ำลง ทำให้ขอบท่ออ้วนขึ้น อ่อนเพลีย ไม่กระปี้กระเป่า อยากนอน อยากกินโน่นกินนี่ตลอดเวลา จังหวะการเต้นของหัวใจช้าลง มือเย็นเท้าเย็น เป็นต้น

3.ต่อมไทรอยด์เกิดเนื้องอก

ดังนั้น ขณะที่ต่อมไทรอยด์ ผลิตไทรอยด์ฮอร์โมนอย่างไม่หยุดหย่อน จงอย่าคิดว่าควรงดอาหารที่มีไอโอดีน แต่กลับต้องเสริมอาหารที่มีไอโอดีน เพื่อมิให้ต่อมไทรอยด์เกิดปัญหา เนื่องจากขาดวัตถุดิบในการผลิตนั่นเอง

6 ข้อควรระวัง ในการกินอาหารและการดื่มน้ำผักผลไม้ ของผู้ป่วยไฮโปไทรอยด์

1.หลีกเลี่ยงอาหารประเภทปิ้งย่างทอดผัดทั้งหมด

2.ดื่มน้ำผักผลไม้ ตำรับป้องกันมะเร็งและเสริมสุขภาพ เพื่อรักษาสมดุลของต่อมไทรอยด์ และให้ต่อมไทรอยด์ได้รับสารอาหารที่ต้องการมากยิ่งขึ้น

3.ต้องกินอาหารที่มีไอโอดีนสูง เช่น สาหร่ายทะเล, สาหร่ายสีเขียว, สาหร่ายสีม่วง, อาหารทะเล หอยนางรม ปลิงทะเล ผักวอเตอร์เครส และวอลนัทสีดำ

4.ห้ามกินอาหารที่มีผลต่อการควบคุมอาการไฮเปอร์ของต่อมไทรอยด์ เช่น มันสำปะหลัง ข้าวโพด บล็อคโคลี่ กะหล่ำดอก กะหล่ำปลี กะหล่ำปลีเล็ก หัวผักกาดแดง น้ำเต้าหู้ เต้าหู้ เม็ดสน ลูกท้อ วอนัท เป็นต้น

โดยเฉพาะอย่างยิ่งมันสำปะหลังและหัวผักกาดแดง มีประสิทธิภาพสูงสุดในการควบคุมไฮเปอร์ไทรอยด์

5.ดื่มน้ำผักผลไม้ตำรับป้องกันและต้านมะเร็ง เพื่อลดระดับและขับสารก่อมะเร็งในร่างกายออกไป

6.ควรรับประทานโคคิวเท็น พร้อมกับสารอาหารบำรุงต่อมไทรอยด์ และกดนวดฝ่าเท้าบริเวณจุดต่อมไทรอยด์

แนะนำ : เกร็ดความรู้เรื่องสุขภาพ เกี่ยวกับปัญหาเหงือกร่นจนฟันสึกเป็นร่อง Ep.22
แนะนำ : เกร็ดความรู้เรื่องสุขภาพ เกี่ยวกับอาการของแผลร้อนใน Ep.23
แนะนำ : เกร็ดความรู้เรื่องสุขภาพ เกี่ยวกับผลเสียของการนอนดึก Ep.24

ข้อควรระวัง :

สารอาหารบำรุงต่อมไทรอยด์ จะทำให้กระบวนการเมแทบอลิซึมทำงานเร็วขึ้น หัวใจเต้นเร็ว อาจมีอันตรายสูง

ดังนั้น ผู้ป่วยไฮเปอร์ไทรอยด์หรือไฮโปไทรอยด์ ต้องปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญแนวธรรมชาติบำบัด หรือนักโภชนาการผู้ชำนาญการก่อน แล้วจึงเลือกกินผักผลไม้ และสารเสริมอาหารสำหรับต่อมไทรอยด์ที่เหมาะสมกับตนเอง

การกินอาหารเสริมต่อมไทรอยด์ จะต้องควบคู่กับการกินโคคิวเท็น โดยกินพร้อมกัน ห้ามไม่ให้กินก่อนหรือหลัง และขนาดของโคคิวเท็น ต้องได้รับการกำหนดเป็นพิเศษโดยนักโภชนาศาสตร์

ผู้ป่วยที่ตัดต่อมไทรอยด์ออกไปแล้ว ยังกินสารอาหารบำรุงต่อมไทรอยด์อีกได้หรือไม่

คำตอบคือ “กินได้” แต่ต้องกินควบคู่กับโคคิวเท็น และปริมาณที่กินต้องผ่านการวิจัยจากผู้เชี่ยวชาญแนวธรรมชาติบำบัด หรือนักโภชนาศาสตร์ผู้ชำนาญการ

ขณะเดียวกัน ต้องดื่มน้ำผักผลไม้ตำรับป้องกันมะเร็ง และเสริมสุขภาพเพื่อรักษาสมดุลของต่อมไทรอยด์

เลือกกินอาหารที่มีไอโอดีนและไม่มีผลในการควบคุมไฮเปอร์ไทรอยด์ ผสานกับการนวดฝ่าเท้าบริเวณจุดต่อมไทรอยด์ราว 1 นาที วันละ 2 ครั้ง รวมถึงวิธีธรรมชาติในการปรับปรุงสุขภาพด้านอื่น ๆ ร่วมด้วย

7 อาหารสำหรับผู้ที่มีอาการไทรอยด์ผิดปกติ

1.ไอโอดีน

ไอโอดีน เป็นสารอาหารสำคัญในระบบการทำงานของต่อมไทรอยด์ เพราะช่วยให้ต่อมไทรอยด์ผลิตฮอร์โมนต่าง ๆ ได้ โดยอาหารที่มีไอโอดีนก็ได้แก่ อาหารทะเลจำพวก ปลา หอยกาบ กุ้ง หอยนางรม ไข่ กระเทียม เห็ด และเมล็ดงา เป็นต้น

ดังนั้นในผู้ป่วยที่เป็นไฮโปไทรอยด์ หรือไทรอยด์ทำงานน้อยกว่าปกติจึงควรทานอาหารที่มีไอโอดีนเสริมเข้าไป

2.ธาตุซีลีเนียม

ซีลีเนียม เป็นสารอาหารที่ช่วยในการทำงานของต่อมไทรอยด์ ที่สำคัญอีกชนิดหนึ่ง โดยสารชนิดนี้จะเข้าไปป้องกันต่อมไทรอยด์จากความเครียด และยังช่วยสร้างโปรตีน ที่ใช้ในการควบคุมการสังเคราะห์ของฮอร์โมในร่างกาย

ควบคุมระบบการเผาผลาญและคอยรักษาระดับของฮอร์โมนไทรอยด์ในร่างกายอีกด้วย โดยอาหารที่มีซีลีเนียมได้แก่ ปลาทูน่า เห็ด เนื้อวัว เมล็ดทานตะวัน เครื่องในสัตว์ และถั่วเหลือง

3.สังกะสี

สังกะสี เป็นแร่ธาตุที่มีความเกี่ยวโยงโดยตรงกับระดับฮอร์โมนไทรอยด์ เพราะโรคไทรอยด์ทั้ง 2 ชนิด ไม่ว่าจะเป็นชนิดไฮโปไทรอยด์ (Hypothyroidism) หรือ ไฮเปอร์ไทรอยด์ (hyperthyroidism) ต่างก็มีสาเหตุมาจากการขาดสังกะสีด้วยกันทั้งนั้น

ดังนั้นผู้ป่วยจึงควรรับประทานอาหารที่มีสังกะสีให้มากขึ้น แต่ก็ควรจะอยู่ในปริมาณที่พอเหมาะกับร่างกาย

ทั้งนี้ ยังควรปรึกษาแพทย์ถึงปริมาณของสังกะสีที่สามารถรับประทานได้ เพื่อไม่ให้ส่งผลกระทบกับโรคไทรอยด์ โดยอาหารที่มีสังกะสี ได้แก่ เนื้อวัว หอยนางรม ปลาซาร์ดีน ถั่วเหลือง ถั่ววอลนัท เมล็ดทานตะวัน ถั่วพีแคน เมล็ดอัลมอนด์ ถั่วเหลืองผ่าซีก ขิง ธัญพืชต่าง ๆ และน้ำเชื่อมเมเปิล

แนะนำ : เกร็ดความรู้เรื่องสุขภาพ เกี่ยวกับอาการปวดตามข้อ Ep.25
แนะนำ : เกร็ดความรู้เรื่องสุขภาพ เกี่ยวกับอาการคันที่จุดซ่อนเร้น Ep.26
แนะนำ : เกร็ดความรู้เรื่องสุขภาพ เกี่ยวกับการกดจุดรักษาอาการปวดหัว Ep.27

4.ทองแดง

การขาดธาตุทองแดงสำหรับผู้ที่ป่วยด้วยโรคไทรอยด์ ไม่ว่าจะเป็นแบบภาวะขาดฮอร์โมนไทรอยด์ หรือผู้ป่วยที่เป็นไทรอยด์เป็นพิษ ถือเป็นการเพิ่มความเสี่ยงโรคหัวใจและคอลเลสเตอรอลมากขึ้น เนื่องจากร่างกายจะไม่สามารถผลิตฮอร์โมนไทรอยด์เพื่อใช้ในร่างกายได้อย่างเต็มที่

ทองแดงมีความจำเป็นต่อการผลิตฮอร์โมนไทรอยด์ ดังนั้นทางที่ดีที่สุดคือควรรับประทานอาหารที่มีแร่ธาตุทองแดงอย่างเพียงพอ

ซึ่งก็มีอยู่ในอาหารอย่างเช่น เนื้อปู หอยนางรม กุ้งล็อบสเตอร์ ถั่วเปลือกแข็ง เนื้อวัว เมล็ดทานตะวัน ถั่วขาว ถั่วลูกไก่ ถั่วเหลือง เห็ดชิทาเกะ ข้าวบาร์เลย์ มะเขือเทศ และดาร์กช็อกโกแลต

5.ธาตุเหล็ก

หากขาดธาตุเหล็ก ก็จะทำให้ความสามารถในการทำงานของต่อมไทรอยด์ลดลง ดังนั้นจึงเป็นสิ่งที่จำเป็นอย่างมาก ที่จะต้องบริโภคอาหารที่มีธาตุเหล็กอย่างเพียงพอ

อาหารที่มีธาตุเหล็กสูงได้แก่ เครื่องในสัตว์ หอยนางรม หอยกาบ ผักโขม ถั่วเลนทิล ถั่วเหลือง ถั่วขาว และเมล็ดฟักทอง

6.วิตามินบี

วิตามินบี 2 วิตามินบี 3 วิตามินบี 6 เป็นวิตามินชนิดที่จำเป็นต่อร่างกาย โดยเฉพาะกับระบบการทำงานของต่อมไทรอยด์ วิตามินบีทั้ง 3 ชนิดนี้ มีหน้าที่สำคัญในการช่วยให้ร่างกายผลิตฮอร์โมน T4 ซึ่งเป็นหนึ่งในฮอร์โมนไทรอยด์ในร่างกาย

วิตามินบีเหล่านี้ มักจะมีอยู่ในอาหารอย่างเช่น ไข่แดง เครื่องในสัตว์ ปลา ธัญพืชชนิดต่าง ๆ ถั่วลันเตา นม เห็ด และเมล็ดอัลมอนด์

7.สารต้านอนุมูลอิสระ

สารต้านอนุมูลอิสระที่จำเป็นต่อร่างกาย อย่างวิตามินเอ วิตามินซี และวิตามินอี มีหน้าที่ช่วยให้ต่อมไทรอยด์ ต่อสู้กับภาวะการถูกทำลาย ด้วยสารอนุมูลอิสระ และป้องกันการเสื่อมสภาพก่อนวัยของต่อมไทรอยด์

ซึ่งอาหารโดยทั่วไป ก็มักจะมีสารต้านอนุมูลอิสระ แต่ในอาหารที่มีสูงก็ได้แก่ องุ่น ผลไม้ตระกูลเบอร์รี ถั่วเปลือกแข็ง ธัญพืชชนิดต่าง ๆ ชาเขียว เป็นต้น

ที่มาและการอ้างอิง

100 คำถามเจาะลึกเพื่อสุขภาพ โดย Dr.Tom Wu

https://health.kapook.com/view118659.html

แนะนำ : เกร็ดความรู้เรื่องสุขภาพ เกี่ยวกับสมุนไพรแก้อาการแน่นท้อง ท้องอืด Ep.28
แนะนำ : เกร็ดความรู้เรื่องสุขภาพ เกี่ยวกับสมุนไพรแก้อาการท้องผูก Ep.29
แนะนำ : เกร็ดความรู้สั้น ๆ พร้อมข้อคิด อยากสวยด้วยแพทย์ หาก ไม่เข้าใจอย่าเพิ่งทำ Ep.30

เรื่องที่เกี่ยวข้อง